ทุมเมธชาดก-ชาดกว่าด้วยการใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์
วสันตฤดูครั้งนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับมาพักผ่อนพระวรกาย หลังจากตรากตรำเผยแผ่พระศาสนามาเนิ่นนาน โดยไม่ย่อท้อต่อความทุรกันดารและอุปสรรคใดๆ พระเกียรติคุณนี้เป็นที่สรรเสริญกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธบริษัท พระพุทธองค์ทรงใช้วาระนั้นปรารภถึงการบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก
มุทุลักขณชาดก-ชาดกว่าด้วยกามกิเลสคือต้นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
สมัยพุทธกาลผ่านมาพระเชตะวันมหาวิหารของพระบรมศาสดาร่มเย็นเป็นที่พึ่งพาของเวไนยสัตว์อย่างทั่วถึง ดุจแสงจันทร์วันเพ็ญอันสว่างนวลทั่วปริมณฑล แต่จันทร์กระจ่างฟ้าก็หาทำความรื่นรมย์ได้ทั่วทุกคนไม่ ยังมีภิกษุหนุ่มชาวสาวัตถีรูปหนึ่งกำลังกลัดกลุ้มอยู่กับความทุกข์ภายใต้แสงจันทร์นวลทุกราตรี
กุสนาฬิชาดก-ชาดกว่าด้วยประโยชน์ของการคบมิตร
ณ บ้านมหาเศรษฐี นามอนาถบิณฑิกะ ได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น เมื่ออนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้คบหากับมิตรผู้ที่ฐานะต่ำต้อยกว่า และได้แต่งตั้งให้บุรุษผู้นั้นเป็นผู้ดูแลสมบัติทั้งหมดของตน เหล่าบรรดาญาติพวกพ้องของท่านอนาถบิณฑิกะต่างแสดงความไม่พอใจ และขอให้ท่านเศรษฐีเลิกคบหากับมิตรผู้นั้น
กากชาดก ชาดกว่าด้วยการผูกอาฆาต
เจ้ากาหัวรั้น ผู้ไม่ยอมเชื่อฟังคำตักเตือนของสหาย ได้ก่อเหตุถ่ายรดศีรษะของพราหมณ์ปุโรหิตด้วยความตั้งใจที่จะกลั่นแกล้ง จึงก่อให้เกิดความอาฆาตขึ้นในใจของพราหมณ์ปุโรหิตและเป็นเหตุให้เหล่าพวกพ้องพีน้องกาทั้งหลายต้องพากันเดือดร้อนกันถ้วนหน้า
กาฬยมุฏฐิชาดก ชาดกว่าด้วยโลภมาก
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเจ้ากรุงโกศลแล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้ ครั้งนั้นในช่วงฤดูฝนได้เกิดการการกบฏขึ้นทางชายแดนของแคว้นโกศล
สุขวิหารีชาดก ชาดกว่าด้วยสุขอันเกิดจากการบรรพชา
สมเด็จพระภัททิยะตัดสินพระทัยออกผนวชในพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญเพียรจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เดินทางภิกขาจารไปทุกหนทุกแห่งโดยลำพัง พระองค์ได้พบกับความสุขอย่างแท้จริง ด้วยไม่ข้องอยู่กับอิสริยยศและอันตราย จึงเปล่งอุทานขึ้นว่า “ เฮ้อ สุขจริงหนอ สุขจริง ”
อาวาริยชาดก ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล
ฤาษีได้ให้โอวาทคนแจวเรือ ซึ่งเป็นคนที่โง่เขลา มีนิสัยดุร้าย ขี้โกง " ขอให้ท่านจงอย่าคิดเคืองโกรธไม่ว่าจะในที่ใด ๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีที่อาตมาจะให้ ” “ อะไรกันท่านฤาษี นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านจะให้ผมหน่ะ ” “ ใช่แล้วล่ะโยม ” “ ไม่ได้ ข้าไม่ยอม เอาของดีของท่านเก็บไว้ใช้กับตัวเถิด ค่าจ้างของข้า ต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว เอาเงินมาให้ข้า ข้าต้องการเงินเท่านั้น ” ว่าแล้วคนแจวเรือก็ได้ทำการตบตี ทำร้ายฤาษีในทันที
ตัณฑุลนาฬิชาดก ชาดกว่าด้วยการตีราคาสินค้า
พนักงานตีราคาคนใหม่ผู้มีนิสัยตระหนี่ เห็นแก่ได้ โลภมาก สามารถตีราคาสินค้าเอาเปรียบพ่อค้าจากเมืองใกล้ไกลได้กำไรมากมาย จนเป็นที่ถูกอกถูกใจพระเจ้าพรหมทัต ต่อมาเขาได้รับสินบนจากพ่อค้าม้าคนหนึ่งจนเป็นเหตุซึ่งทำให้เขาถูกไล่ออกจากวังในที่สุด
สรภชาดก ชาดกว่าด้วยละมั่งทำคุณแก่พระราชา
พระเจ้าพรหมทัตรู้สึกเสียหน้าที่ตนทำให้เจ้าละมั่งหนีไปได้ พระองค์ทรงถือพระขรรค์แล้วทรงวิ่งตามละมั่งไปถึง ๓ โยชน์ และได้ไปตกบ่อลึกเป็นเหวประมาณ ๖๐ ศอก ต่อมาพญาละมั่งได้วกกลับมาช่วยพระองค์ให้ขึ้นจากบ่อน้ำ และให้พระราชาขึ้นประทับบนหลังพาออกจากป่ามาส่งลง ณ ที่ไม่ห่างเสนา
กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา
“ หม้อใบนี้เป็นหม้อที่มีโทษมาก ผู้ใดดื่มน้ำในหม้อนี้จะเสียผู้เสียคน ควบคุมสติไม่ได้ ทั้งแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม บ้างก็เหมือนคนบ้า บ้างก็ด่าทอทะเลาะวิวาท ด่าบิดามารดา ฆ่าสมณะชีพราหมณ์ได้ น้ำในหม้อใบนี้เป็นน้ำสุรา หากประสงค์จะเห็นความพินาศของตนและบ้านเมือง ก็จงซื้อไปดื่มเถิด ”