มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - หมดโศก เพราะหมดอาลัย
ชีวิตในสังสารวัฏนี้ เต็มไปด้วยทุกข์ จับต้นชนปลายไม่ถูก สังสารวัฏนี้กำหนดเบื้องต้น ท่ามกลางและเบื้องปลายไม่ได้ หมู่สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปมาในสังสารวัฏนี้ ได้เสวยความทุกข์โทมนัสมายาวนาน ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าสูงขึ้น ใหญ่โตกว่าภูเขาที่ตั้งตระหง่านเทียมฟ้า
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ทางรอดจากสังสารวัฏ
ทันทีที่ พระราชาบรมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นผมหงอกบนฝ่าพระหัตถ์ ทรงสลดพระทัยพลางสอนตนเองว่า "ดูก่อนเจ้าสุสีมะ บัดนี้เวลาของชีวิตเจ้าล่วงเลยมามากแล้ว การอยู่ครองเรือนตกอยู่ในอำนาจของกิเลสอาสวะเช่นนี้ ไม่ใช่ทางรอดของชีวิต การบรรพชามุ่งทำความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นเท่านั้น เป็นทางรอดจากสังสารวัฏได้ ถึงเวลาที่เจ้าจะต้องประพฤติพรหมจรรย์แล้ว"
ทศชาติชาดก เรื่อง ภูริทัต ตอนที่ 2 ต้นเหตุแห่งเภทภัย
และความดำรินี้เอง คือ จุดเริ่มต้นของความหายนะที่กำลังจะเกิดกับพระราชโอรสในอนาคตอันใกล้ นับแต่วันนั้น เมื่อพระราชาทรงสดับถ้อยคำสรรเสริญเยินยอของพระราชโอรสครั้งใด ก็คล้ายดั่งคมมีดที่กรีดใจทีละน้อยทีละน้อย ความริษยาก็เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น
เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา
“ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล - อย่าคบคนพาล
ผู้มีปัญญา ไม่พึงคบคนชั่วเป็นมิตร ไม่พึงคบบุรุษผู้ต่ำทราม พึงคบหากัลยาณมิตร พึงคบบุรุษผู้สูงสุด เราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ต่างปรารถนาความสุขความเจริญ ปรารถนาให้สิ่งที่ดีงามที่เป็นมงคลเกิดขึ้นแก่ชีวิตของตนด้วยกันทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า สิ่งที่เป็นมงคล คือ การบำเพ็ญบุญ อันจะเป็นเครื่องสนับสนุนให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์
มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล
ราชคฤห์ในแผ่นดินพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นบังเกิดมีสำนักพระพุทธศาสนาที่แปลกแยกออกไปโดยมีพระเทวทัตเป็นผู้นำศาสนสถานแห่งใหม่ตั้งอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะที่พระเจ้าอชาตศัตรูสร้างถวายและให้อยู่ในพระราชานุเคราะห์อย่างอุดมสมบูรณ์
โภชาชานียชาดก-ชาดกว่าด้วยความเพียรอันยิ่งใหญ่
พุทธกาลครั้งนั้น ณ เชตวันมหาวิหารในนครสาวัตถี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระเมตตาธิคุณต่อพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งกำลังเบื่อหน่ายคลายความเพียรลง ทรงอนุเคราะห์ด้วยพุทธวาจาว่า “ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตในกาลก่อนนั้นได้ทำความเพียรที่ไม่น่าจะทำได้ แม้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเพียงใด ก็มิได้ละความเพียร” แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงระลึกชาติด้วย บุพเพนิวาสนุสติญาณด้วยชาดกขึ้นเรื่องหนึ่ง โภชาชานียชาดก ความเพียรอันยิ่งใหญ่
อลีนจิตตชาดก ชาดกว่าด้วยกัลยาณมิตร
ณ นครสาวัตถีมีภิกษุรูปหนึ่งเมื่อบวชแล้วก็ไม่สามารถบรรลุในพระธรรมได้สักที ภิกษุรูปนี้หมดความหวัง ละความเพียรที่จะปฏิบัติธรรมอีกต่อไป
ธุดงค์ธรรมชัยกับพุทธประเพณีการล้างเท้าพระ
การล้างเท้าพระ เป็นพุทธประเพณีหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ดังเรื่องของสังขพราหมณชาดก ที่กล่าว ถึงอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ในชาตินั้น สังขพราหมณ์ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาด้วยเท้าเปล่าเหยียบย่ำทรายที่ร้อนดังถ่านเพลิง จึงเกิดกุศลศรัทธา รีบนิมนต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปที่โคนต้นไม้ แล้วล้างเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยน้ำที่อบและกรองใสสะอาด
กุกกุรชาดก-ชาดกว่าด้วยการสงเคราะห์ญาติ
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายนั่งสนทนากันอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร ถึงเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช่วยให้พระประยูรญาติจำนวนมากได้บรรลุธรรมถึงความพ้นทุกข์ และในจำนวนนั้นมีพระประยูรญาติหลายพระองค์ได้มาเป็นกำลังใจในการเผยแพร่แผ่พระพุทธศาสนา