มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
ด้วยจิตที่จะอนุเคราะห์พระราชา พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงถวายพระพรว่า "ธรรมดานักโทษย่อมไม่ยินดีในเรือนจำ มีแต่ดิ้นรนแสวงหาหนทางออกจากเรือนจำนั้นอย่างเดียว ขอพระองค์จงเป็นเช่นนั้นเถิด จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือนจำเถิด โลกนี้ถูกความมืด คือ อวิชชา ห่อหุ้มไว้ ตราบใดที่สัตวโลกยังไม่ได้รับแสงสว่างจากพระสัทธรรม เปรียบเสมือนตกอยู่ในคุกมืด..."
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 155
สุวโปดกจึงชักอุปมาว่า “สาลิกา จ๋า อย่าว่าแต่เธอกับฉันเลย แม้แต่ในหมู่มนุษย์ พระราชามหากษัตริย์ก็ยังอยู่ร่วมกับหญิงจัณฑาลได้เลย เรื่องชาติชั้นวรรณะไม่สลักสำคัญอันใดดอกจ้ะ เธอไม่เคยได้ยินหรือว่า รักแท้ย่อมไม่มีพรมแดน สิ่งใดๆก็มิอาจกั้นขวางความรักได้เลย เพราะรักแท้ขึ้นอยู่กับความปรารถนาในกันและกันต่างหากเล่า”
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ความทุกข์ในการครองเรือน
อยู่มาวันหนึ่ง เศรษฐีกรุงพาราณสีได้เกิดความคิดอย่างนี้ขึ้น ด้วยความรักและความคุ้นเคยในพระโพธิสัตว์ว่า "ชื่อว่าการบวชเป็นทุกข์ เรายังปริพาชกชื่อว่า วัจฉนขะ ผู้เป็นสหายของเราให้สึก แล้วแบ่งสมบัติทั้งหมดให้แก่ปริพาชกไปครึ่งหนึ่ง เราทั้งสองก็จักอยู่ด้วยความปรองดองกัน"
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ชีวิตที่ประเสริฐ
พระองค์ถือเอาความสิ้นไปของหยาดน้ำค้างนั้น เป็นอารมณ์ จึงมองเห็นภพทั้งสามดุจมีเพลิงลุกไปทั่ว จากนั้นได้เสด็จไปหาพระบิดาซึ่งกำลังประทับอยู่ ณ ศาลาวินิจฉัย เพื่อทูลลาบวช พระบิดาทรงห้ามว่า "อย่าผนวชเลย ถ้าเธอยังพร่องในเบญจกามคุณทั้งหลาย ฉันเพิ่มเติมให้ ถ้าผู้ใดเบียดเบียนเธอ ฉันก็จะห้ามปราม"
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ละวางเบญจกามคุณ
โสณกะได้ยินเสียงดนตรี ก็รู้เหตุการณ์โดยตลอด จึงรีบหลบเข้าไปในที่กำบัง ปุโรหิตได้ให้เจ้าพนักงานประโคมดนตรี เพื่อเฉลิมฉลองพระราชาองค์ใหม่ และกราบทูลถวายพระราชสมบัติ พร้อมทั้งอภิเษกพระโพธิสัตว์ให้เป็นพระราชา ณ ที่อุทยานนั้นเอง เมื่อเสด็จเข้าสู่พระราชวังพร้อมด้วยอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ ทรงลืมโสณกะผู้เป็นพระสหายอย่างสนิท
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - ขันติธรรมอยู่ที่ไหน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญขันติธรรมว่าเป็นเลิศ เป็นหลักเป็นประธานที่ทำให้เกิดคุณ คือ ศีล สมาธิ กุศลธรรมทุกอย่างจะเจริญขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยขันติเป็นพื้นฐาน ผู้มีขันติธรรมอยู่ในใจ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ย่างขึ้นสู่หนทางสวรรค์และนิพพานโดยแท้ พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอีกว่า "ยกเว้นปัญญาแล้ว เราตถาคตสรรเสริญว่า ขันติเป็นเลิศ" เพราะฉะนั้น ขันติบารมีจึงเป็นบารมีที่เราจะต้องสั่งสมไว้ให้มาก ให้ติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 117
ทันใดนั้น พระเจ้าจุลนีจึงทรงประกาศขึ้นในท่ามกลางมหาสมาคมว่า“มา เถิดท่านทั้งหลาย บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องห้ำหั่นมิถิลาให้เป็นจุณ วิเทหราชหรือจะรอดพ้นเงื้อมมือของเราไปได้ เมื่อจับท้าววิเทหะผู้ทรนงตนเสียได้ เราก็จักบั่นศีรษะของมันเสียด้วยพระขรรค์เล่มนี้ล่ะ
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 115
มโหสถบัณฑิตจึงได้เรียกเหล่าทหารผู้เป็นสหายบริวารที่เป็นสหชาติทันที แล้วแจ้งแผนการที่จะทำลายพิธีดื่มชัยบานของพระเจ้าจุลนีว่า “สหาย ทั้งหลาย ที่เราต้องเรียกพวกท่านมาประชุมพร้อมกันในครั้งนี้ ก็เพราะมีภารกิจสำคัญ ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุก ๆ คนช่วยกันทำให้สำเร็จ”
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 114
ฝ่ายมโหสถบัณฑิตเมื่อได้รับข่าวจากทูตทหารเหล่านั้น จึงส่งข่าวตอบไปว่า “ขอ ท่านทั้งหลายอย่าได้วิตกกังวลไปเลย บัดนี้เราได้เตรียมการป้องกันพระนครไว้แล้วด้วยความไม่ประมาท ว่าแต่พวกท่าน เมื่อจะทำการใดๆก็จงระแวดระวังให้ดี อย่าให้ถูกจับได้ และจงอย่าประมาท เป็นเหตุให้เสียการ”
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 112
พระเจ้าจุลนีทรงสดับอุบายนั้นแล้ว ก็ทรงปีติยินดียิ่งนัก ถึงกับตรัสชมพราหมณ์เกวัฏผู้เป็นต้นคิดว่า “แผนการของท่านอาจารย์ช่างแยบยลอะไรเช่นนี้ ดีละท่านอาจารย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรีบเตรียมการเคลื่อนพลโดยเร็วเถิด”