มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - วาจาอันเป็นที่รัก
ภรรยาของบุรุษมีอยู่ ๗ จำพวก เธอเป็นภรรยาพวกไหนใน ๗ จำพวกนั้น (พระบรมศาสดาตรัสถามนางสุชาดา) แล้วภรรยา ๗ จำพวกนั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เช่น ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต , ภรรยาเยี่ยงโจร ฯลฯ
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - คุณค่าแห่งศิลปะ
เมื่อชายง่อยได้เข้าเฝ้าพระราชาเพียงลําพัง พระองค์ตรัสถามชายง่อยว่า "ในราชสำนักของเรา มีปุโรหิตปากกล้าคนหนึ่ง เจ้าสามารถทำให้เขาหยุดพูดได้ไหม" ชายง่อยกราบทูลว่า "ถ้าได้มูลแพะประมาณทะนานหนึ่ง ข้าพระองค์ก็สามารถทำได้พระเจ้าข้า"
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - พระปัญญาบริสุทธิ์
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต ผู้รู้ ผู้มีปัญญา ต้องดำรงตนเป็นทูตสันติภาพได้ด้วย นอกจากจะมีปฏิภาณที่ยอดเยี่ยมแล้ว ต้องไม่มีอคติความลำเอียง และต้องรู้จักแสวงจุดร่วมสมานจุดต่าง คอยประสานรอยร้าวเหมือนเป็นกาวใจ
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพิชิตปัญหา
พระโพธิสัตว์ได้ใช้สติปัญญา แก้ข้อครหาของอำมาตย์ทั้ง ๕ คน เช่น เรียกให้อุจเฉทวาทีอำมาตย์เข้ามา พลางกล่าวว่า "ท่าน กล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล และยังสำคัญว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมขาดสูญในโลกนี้เท่านั้น สัตว์ผู้ไปสู่ปรโลกไม่มีเลย แล้วมาหัวเราะเยาะเราทำไม"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๑ )
พระราชาทรงมองดูลำต้น พลางดำริว่า ต้น มะม่วงต้นนี้ เมื่อเช้านี้เอง ยังเต็มไปด้วยผล เป็นพวงสวยงาม ทำความอิ่มตาเบิกบานใจให้แก่ผู้พบ เห็นที่ผ่านมาผ่านไป มาบัดนี้ ถูกเก็บผลหมดแล้ว มีกิ่งหักห้อยรุ่งริ่งดูไม่งาม แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล พระองค์ทรงกำหนดไตรลักษณ์เช่นนี้ ทรงเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 17
มหาชนได้ฟังพระราชาตรัสเล่าเรื่องราวของสัตว์นรก และบาปกรรมที่ทำให้ต้องไปตกนรกเช่นนั้น ก็เกิดความหวาดกลัวบาปกรรม ต่างรับปากกับพระเจ้าเนมิราชว่า จะไม่ทำบาปอกุศลอย่างนั้นอีกต่อไป
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 3
การทำอธิมุตกาลกิริยา (อะ-ธิ-มุต-ตะ-กา-ละ-กิ-ริ-ยา) คือการอธิษฐานจิตดับชีพของตนลงมาเกิดสร้างบารมีในโลกมนุษย์นี้ จะทำได้ก็เฉพาะพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายที่สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตเท่า นั้น
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 2
พระราชาสดับดังนั้น ทรงมีปีติเป็นยิ่งนัก จึงทรงดำริว่า ลูกเรามาเกิดเพื่อสืบต่อวงศ์ของเราโดยแท้ เปรียบเหมือนล้อรถที่หมุนตามกันมา ฉะนั้น เหตุนี้เองพระองค์จึงทรงขนานพระนามของพระราชโอรสว่า เนมิราชกุมาร ซึ่งแปลว่า กุมารผู้เป็นเหมือนล้อรถ ที่หมุนเวียนมาเพื่อตามรักษาประเพณีอันดีงามของวงศ์ตระกูลให้สืบต่อไป
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 1
อธิษฐานบารมีนั้น คือการตั้งใจมั่นอย่างแน่วแน่ในการทำความดี อันมีผลสุดท้ายคือการกำจัดทุกข์ของตนเองและผู้อื่น แม้เป้าหมายจะยิ่งใหญ่แค่ไหน เมื่อได้ตั้งใจเอาไว้แล้วว่าจะทำ ก็ต้องทำให้สำเร็จให้จงได้ จะไม่เลิกรา และไม่ลดเป้าหมายลงอย่างเด็ดขาด
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - คบบัณฑิตพิชิตปัญหา
ในเวลาเย็น ทั้ง ๔ ท่าน ต่างออกจากที่พักของตน และได้พบกันโดยบังเอิญ ด้วยบุญเก่าที่เคยเกิดเป็นเพื่อนกันมาก่อน ทำให้รู้สึกรักใคร่ชอบใจกันเป็นพิเศษ จึงพูดคุยสนทนากันอย่างถูกคอ ทั้ง ๔ ท่านได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า การสมาทานอุโบสถศีลของพวกเรา ใครจะเป็นผู้มีศีลมากกว่ากัน ต่างฝ่ายต่างก็คิดว่า ตนมีศีลมากกว่าคนอื่น