สุชาตกุมารชาดก ชาดกว่าด้วยการพรากจากสิ่งที่เป็นทุกข์
สุชาตกุมารเห็นบิดาห่วงใย ให้ข้อคิดอย่างสมคะเน แล้วก็เร่งกล่าวให้สติบิดากลับไปตามอุบาย “ท่านพ่อ วัวตัวนี้หาได้มีชีวิตแล้ว เหมือนท่านปู่ของลูกเช่นกัน แต่ยังมีศีรษะ มีปาก มีร่างกาย หู หาง ครบถ้วนอยู่ ย่อมต้องกินหญ้าที่ลูกนำมาเซ่นได้สิขอรับ ” “มันกินไม่ได้หรอกลูกเอ้ย มันตายไปแล้ว ” “ลูกเข้าใจว่ามันต้องกินหญ้านี้ได้ เพราะขนาดท่านปู่มิได้มีร่างกายเหลืออยู่แล้ว เหลือเพียงเถ้ากระดูกมนสถูป แต่ท่านพ่อยังนำดอกไม้เครื่องหอมต่าง ๆ แล้วก็อาหารคาวหวานไปร้องบอกท่านปู่ให้กินอยู่เลยขอรับ ”
มัจฉทานชาดก ชาดกว่าด้วยการให้ข้าวเป็นทานแก่ปลา
เมื่อมานพผู้พี่เอาเศษอาหารให้ปลาแล้ว ก็ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศส่วนกุศลให้แก้เทพยดาฟ้าที่สิงสถิตอยู่ในแม่น้ำแห่งนี้ ส่วนเทวดาผู้รักษาน้ำได้อนุโมทนารับส่วนกุศล ที่มานพผู้พี่อุทิศมาให้ ลาภยศอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดขึ้นแก่ตน พ่อค้าผู้พี่เมื่ออุทิศส่วนกุศลเรียบร้อยแล้วก็เอาผ้าห่อปูริมแม่น้ำลงนอนพักหลับไป
พรหมทัตตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ขอกับผู้ถูกขอ
เมื่อทราบถึงเหตุผลที่ดาบสแจ้งให้ทราบแล้ว พระราชาถึงกับตะลึงงั้น ไม่คาดคิดมาก่อนว่า ด้วยสิ่งของเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดาบสถึงกับไม่กล้าเอ่ยปากขอมานานถึงสิบสองปี “ น่าเลื่อมใสจริง ๆ พระคุณเจ้าเมื่อเราได้ฟังคำของท่านแล้ว เราจะไม่ให้ท่านได้อย่างไร ท่านต้องอดทนลำบากไม่กล้าขอเรามาถึงสิบสองปี
กุททาลชาดก ชาดกว่าด้วยความชนะที่ดี
ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เมื่อเบื่อชีวิตปุถุชนก็เอาจอบฝั่งดินไปเป็นฤาษี ครั้นเบื่อหน่ายเพศบรรพชิตก็สึก เป็นเช่นนี้มา ๖ ครั้งแล้ว สุดท้ายข้าพระองค์ได้นำตัวตั้งของกิเลส คือจอบคู่ชีวิตเล่มนี้ขว้างทิ้งลงแม่น้ำ ข้าพระองค์หันหลังเขวี้ยงมันไป เพื่อจะได้ไม่พบเห็นจุดที่มันจมอยู่อีกต่อไป และข้าพระองค์ก็ตัดขาดกิเลสกับมันแต่บัดนั้น
คูถปาณกชาดก ชาดกว่าด้วยหนอนท้าสู้กับช้าง
เจ้าช้างถ่ายคูตก้อนใหญ่ลงบนหัวหนอนนั้น และถ่ายปัสสาวะรดหนอนคูต พร้อมทั้งแผดเสียงร้องอย่างสะใจ ก่อนจะเดินหายลับเข้าไปในป่าตามยถากรรม เหตุการณ์ระหว่างที่เจ้าหนอนคูตท้าสู้กับช้างนั้น เป็นที่แจ้งประจักษ์แก่เทวดาที่อยู่ในไพรสณฑ์นั้น ซึ่งเฝ้ามองดูชะตากรรมช่างน่าอนาถของเจ้าหนอนคูตที่ต้องมาตายเพราะความหยิ่งผยองลำพองตน
สัตตปัตตชาดก ชาดกว่าด้วยความสำคัญผิด
ข้อวินัยให้สงฆ์สาวกปฏิบัติแต่ละบทนั้น มักเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องไม่เหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป พุทธกาลครั้งหนึ่งก็เป็นดังนั้น พุทธวินัยครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระฉัพพัคคีย์ 2 รูปล่วงพระวินัยข้อยึดถือในทรัพย์ มิได้ปล่อยวาง ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับกิเลส ภิกษุผู้ก่อเหตุที่ว่านี้ชื่อ พระปัณฑกะ และพระโลหิถกะ
กุกกุฏชาดก ชาดกว่าด้วยว่าด้วยผลของการไม่เชื่อง่าย
นางแมวเดินย่องเข้าไปใต้กิ่งไม้ที่พญาไก่ป่าเกาะอยู่ มันพยายามพูดหลอกล่อให้ไก่ป่าตายใจไม่ทันได้ระวังตัวแล้วจะตะครุบกินเป็นอาหาร “ พ่อไก่ผู้สง่างาม ผู้มีขนสีแดงเป็นประกาย เจ้าลงมาจากกิ่งไม้เถอะ เรามีเรื่องจะพูดคุยกับท่าน ”
ฉัททันตชาดก ชาดกว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์
“ พรานเอ๋ย นางผู้นั้น ละวางพยาบาทได้ก็ด้วยชีวิตเรา จงเลื่อยเอางาของเราไปเถิด ” การสิ้นกรรมในชาติภพนั้น พญาฉัททันต์ทนเจ็บปวดเป็นที่เวทนาการ จนเมื่อพรานนำงาคู่ไปถึงกาสิกกรัฐ แล้วพญาช้างก็ขาดใจตาย
กกัณฏกชาดก ชาดกว่าด้วยกิ้งก่าได้ทรัพย์
พระราชาได้เสด็จไปยังพระราชอุทยาน ก็ทรงมองหาเจ้ากิ้งก่าตัวนั้น “ มโหสถ เจ้ากิ้งก่าตัวนั้นมันหายไปไหนสะแล้วล่ะ ” “ มันอยู่บนเสานั้นแหละพระเจ้าค่ะ ” เจ้ากิ้งก่านั้น แม้เห็นว่าพระราชาทรงเสด็จมา ก็ไม่ได้ลงจากปลายเสาค่าย เพื่อทำความเคารพพระราชาเช่นเดิม ด้วยเพราะมันเข้าใจว่าตนเองมีทรัพย์เสมอพระราชา มันจึงทำตนเสมอพระราชาด้วย
จุลปทุมชาดก ว่าด้วยการลงโทษหญิงชายทำชู้กัน
พระจุลปทุมกุมารได้ทรงช่วยเหลือโจรที่โดนตัดแขนตัดขาที่ถูกปล่อยลงแพล่องตามแม่น้ำ พระองค์ทรงเยียวยาให้อาหารดูแล จนหายบาดเจ็บในเวลาต่อมา การสร้างบุญของเจ้าชายครั้งนั้นเหมือนการเก็บงูเห่ามาเลี้ยง เมื่อเจ้าชายออกไปหาผลไม้ในป่า พระชายาสาวก็กระทำอนาจารร่วมกับโจรนั้นทุกครั้ง ความชั่วมักหอมหวานจนกลายเป็นสิ่งถูกต้องเสมอในความคิดของคนชั่ว