กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา
“ หม้อใบนี้เป็นหม้อที่มีโทษมาก ผู้ใดดื่มน้ำในหม้อนี้จะเสียผู้เสียคน ควบคุมสติไม่ได้ ทั้งแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม บ้างก็เหมือนคนบ้า บ้างก็ด่าทอทะเลาะวิวาท ด่าบิดามารดา ฆ่าสมณะชีพราหมณ์ได้ น้ำในหม้อใบนี้เป็นน้ำสุรา หากประสงค์จะเห็นความพินาศของตนและบ้านเมือง ก็จงซื้อไปดื่มเถิด ”
กาสาวชาดก ชาดกว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
พญาช้างอยากลงโทษให้พรานชั่วให้ตายตกไปตามชีวิตบริวารของตน แต่เห็นแก่ผ้าเหลืองกาสาวพัสตร์ในพระพุทธศาสนา จึงลงโทษสถานเบาให้เข็ดหลาบ แล้วปล่อยให้พรานออกจากป่าโดยให้พรานตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและตั้งอยู่ในศีลธรรม อันดีตลอดไป
พันธนโมกขชาดก ชาดกว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด
อดีตกาลอันไกลออกไป ยังมีอัครเหสีผู้สมบูรณ์พร้อมในอิตถีลักษณ์ ชวนหลงไหล บำรุงบำเรอสุขแก่พระเจ้ากาสี อยู่ในพาราณสีนครหลวง “ หญิงสวยอย่างเรา แม้แต่พระเจ้ากาสีก็ยังหลงไหล ฮึ แล้วมีรึ ชายหนุ่มอื่นใดจะไม่ต้องการ
สสปัณฑิตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน
“ มิจำเป็นที่ผู้อื่นจะต้องล่วงรู้หรอกท่านพญากระต่าย คุณความดีในการเสียสละชีวิตเพื่อให้ทานของท่านในครั้งนี้จะคงอยู่ปรากฎตลอดไป ” ทันทีที่กล่าวจบท้าวสักกะในร่างของพราหมณ์ ก็ทำการเขียนรูปของพญากระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเสียสละครั้งนี้ให้อยู่สืบไป
กายนิพพินทชาดก ชาดกว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย
รุ่งเข้าวันหนึ่ง ชายป่วยได้ตื่นเช้ากว่าปกติ เขาหันหน้าออกไปทางหน้าต่างเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ เขามองออกไปดูวิถีชีวิตของชาวบ้าน พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นพระภิกษุสงฆ์ออกมาบิณฑบาต แล้วเขาก็เกิดความคิดอย่างหนึ่ง “ จริงสินะ ชีวิตมันไม่เที่ยงจริง ๆ สังขารย่อมร่วงโรยเป็นธรรมดา ถ้าเราหายจากโรคนี้เราจะบวช ”
ขุรปุตตชาดก ชาดกว่าด้วยการทำตนให้ไร้ประโยชน์
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าโลมเร้า แล้วทรงซักถามภิกษุนั้น “ จริงหรือภิกษุ ได้ทราบว่าเธอกระสันอยากสึก ” “ จริงพระเจ้าค่ะ ” “ เธอกระสันอยากสึกเพราะเหตุอะไร ” “ เพราะภรรยาเก่าพระเจ้าค่ะ ” “ ดูกรภิกษุหญิงนี้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เธอไม่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนเธอกำลังจะกระโดดเข้าไฟตายเพราะอาศัยหญิงนี้ แต่อาศัยบัณฑิตจึงได้ชีวิตไว้ ”
เสยยชาดก ชาดกว่าด้วยคบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
เมื่ออำมาตย์ผู้หนึ่งได้มีโอกาสไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงตรัสถามถึงเรื่องการถูกใส่ร้ายจนต้องราชทัณฑ์ “ แม้หม่อมฉัน จะถูกจองจำใส่โซ่ตรวน แต่สิ่งนี้กลับทำให้หม่อมฉันได้รับประโยชน์ คือได้โอกาสปฏิบัติธรรม จนได้เห็นดวงตาแห่งธรรมพะยะค่ะ ”
สุขวิหารีชาดก ชาดกว่าด้วยสุขอันเกิดจากการบรรพชา
สมเด็จพระภัททิยะตัดสินพระทัยออกผนวชในพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญเพียรจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เดินทางภิกขาจารไปทุกหนทุกแห่งโดยลำพัง พระองค์ได้พบกับความสุขอย่างแท้จริง ด้วยไม่ข้องอยู่กับอิสริยยศและอันตราย จึงเปล่งอุทานขึ้นว่า “ เฮ้อ สุขจริงหนอ สุขจริง ”
ผลชาดก ชาดกว่าด้วยความสามารถในการดูผลไม้
ณ นครสาวัตถี นอกฤดูพรรษาหนึ่งก่อนที่เหล่าภิกษุสงฆ์จะออกจาริกไปเผยแผ่พระพุทธธรรมตามนิคมแว่นแคว้นต่าง ๆ ชาวพระนครก็มักกราบอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จรับภัตตาหารที่บ้านเรือนตนอยู่มิได้ขาด ครั้งหนึ่งทรงรับนิมนต์คหบดีเจ้าของสวนผลไม้ จึงเสด็จนำหมู่ภิกษุสงฆ์ไปตามการอาราธนานั้น ชาวสวนผลไม้จัดพระพุทธอาสนะให้พระพุทธองค์ประทับภายในเคหสถานของตนพร้อมกับพระเถระผู้ใหญ่
สาลิยชาดก ชาดกว่าด้วยหมอผู้โชคร้าย
หมอพิการคนหนึ่ง ได้วางแผนให้เด็กน้อยลูกพ่อค้าปีนต้นไม้ไปเอาลูกนกสาลิกาในโพรงไม้ ซึ่งความจริงแล้วมีงูอยู่ในโพรงไม้นั้น เด็กน้อยหลงเชื่อปีนขึ้นไป เด็กน้อยจับหัวงูได้ก็เหวี่ยงทิ้งทันที ด้วยบุพกรรมที่ทำร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน เด็กน้อยลูกพ่อค้าเหวี่ยงงูเห่ามาทางหมอพิการพอดี งูพิษพันคอหมอพิการ แล้วฝังคมเขี้ยวฉีดพิษร้าย หมอพิการดิ้นทุรนทุรายอย่างทรมาน มิสามารถเยี่ยวยาได้ทัน