ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 102
การณ์ครั้งนี้ เป็นที่น่าชื่นชมพระนางอุทุมพรเทวี ที่พระนางทรงมีไหวพริบปฏิภาณเป็นเยี่ยม ทรงดับความเร่าร้อนในพระทัยของพระเจ้าวิเทหราช ทำให้พระองค์บรรทมหลับลงได้ ประดุจน้ำที่ช่วยดับไฟมิให้ลุกลามต่อไป
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 101
ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช พระองค์เสด็จเข้าสู่พระแท่นบรรทมตั้งแต่ปฐมยาม จนล่วงเข้ามัชฌิมยามแล้ว ก็ยังมิอาจข่มพระเนตรลงได้ ท้าวเธอเสด็จบรรทมอยู่ด้วยพระหฤทัยกระสับกระส่ายยิ่งนัก ทุกครั้งที่ทรงหวนระลึกถึงใบหน้าของมโหสถบัณฑิต และภาพเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นมาเมื่อตอนกลางวัน ท้าวเธอก็ยิ่งไม่สบายพระทัยเป็นนักหนา
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๓)
จากเรื่องนี้ เราจะเห็นได้ว่า แม้เราจะทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ที่สุด ก็อาจเกิดการเข้าใจผิดกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้ว ฉะนั้น การเข้าใจผิดจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย และพร้อมจะเกิดขึ้นเสมอในสังคมโลกปัจจุบัน เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ พวกเราทุกคนควรนำไปเป็นข้อคิดว่า
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ความไม่ประมาท
แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานในแคว้นกุรุ ยังประกอบด้วยการเจริญสติถึงเพียงนี้ ไม่ยอมเป็นผู้ประมาทในชีวิตแม้มีมรณภัยมาถึง เราทุกคนซึ่งได้โอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ มีชีวิตที่ประเสริฐกว่า มีสองแขนสองขา มีสติปัญญา สามารถทำความดี ได้เต็มที่มากกว่า เราจึงควรดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - เลิกอบายมุข พบสุขที่แท้จริง
ทันทีที่พระสาคตะเดินมาบิณฑบาต แต่ละครัวเรือนต่างพากันกล่าวเชื้อเชิญให้ดื่มน้ำสุราชั้นเลิศ พระสาคตะไม่อยากขัดศรัทธา จึงดื่มสุราจากทุกๆ ครัวเรือนที่เขาถวาย เมื่อดื่มมากเข้า ก็เริ่มเมาประคองสติไม่อยู่ เมื่อจะเดินออกนอกเมืองเพื่อกลับวัด ก็เดินโซเซไปมา แล้วล้มกลิ้งเกลือกลงบนพื้นถนน บาตรและอาหารที่บิณฑบาตได้มา กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากเมือง
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 34
ท่านเสนกะกราบทูล เพื่อจะโน้มน้าวพระหฤทัยของพระเจ้าวิเทหราช ให้ทรงเห็นว่า ตนเป็นผู้รักษาเชิดชูพระอิสริยยศของพระองค์ มิยอมปล่อยให้พระบรมเดชานุภาพถูกดูหมิ่นได้โดยประการทั้งปวง พระเจ้าวิเทหราชทรงนิ่งสดับคำพูดของท่านเสนกะที่ กราบทูลมายืดยาว แต่พระพักตร์นั้นกลับทรงนิ่งเฉย มิได้แสดงพระอาการว่าเข้าพระทัยหรือทรงเห็นด้วยแต่อย่างใด
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ผู้กลัวตายและไม่กลัวตาย
มื่อเกิดแล้ว ชีวิตต้องพบกับความแก่ ความเจ็บ สุดท้ายต้องบ่ายหน้าไปสู่ความตาย จึงไม่มัวเมาประมาทในร่างกายซึ่งมีปกติเปื่อยเน่า เป็นรังของโรค เต็มไปด้วยของปฏิกูล แล้วหมั่นสร้างคุณงามความดี แ้ล้วจะไปสู่สัมปรายภพอย่างผู้มีชัยชนะ
วันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพาน
หนฺท ทานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ นี่เป็นพระดำรัสสุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงรวบรวมพระโอวาททั้งปวงที่ได้ประทานมาตลอด ๔๕ พรรษานั้นลงในความไม่ประมาท
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 16
ฝ่ายพระเจ้าปิลยักขราช ได้เห็นภาพของฤษีทั้งสองแล้ว ก็รู้สึกสงสารยิ่งนัก ได้ทรงปลอบใจให้ทั้งสองคลายความโศกว่า “ขอผู้เป็นเจ้าทั้งสอง อย่าได้คร่ำครวญถึงสามะบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยคุณความดี ว่าเขาถูกเราฆ่าตายเสียแล้ว แล้วใครจะเลี้ยงดูพวกเราเลย...แม้จะสิ้นสามะแล้ว ข้าพเจ้านี่แหละจะขอเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองอยู่ในป่าใหญ่นี้เอง
ทศชาติชาดก เรื่อง พระเตมีย์ ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี ตอนที่ 11
ทูลกระหม่อม ขอพระองค์ทรงตรองดูก่อน ตลอดเวลาที่ผ่านมา พระโอรสไม่เคยทำความเดือดร้อนให้แก่ใครเลย มีแต่พวกเราต่างหากที่ทำความทุกข์ร้อนให้แก่พระกุมาร ทำไมถึงจะต้องรับสั่งให้ฝังเธอทั้งเป็นอย่างนั้น