แม่บทแห่งธรรม ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือที่เขียนตามพจนานุกรมว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นพระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณและเป็นพระสูตรที่เป็นแหล่งรวมของหลักธรรมสำคัญ ๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ พระสูตรนี้จึงได้สมญาว่า “ปฐมเทศนา”...
อปัณณกธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด
นครสาวัตถี เนื่องด้วยอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ล้วนเป็นคนกลับกลอก พอฟังธรรมก็เกิดศรัทธาประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่พอพระพุทธศาสดาเสด็จจากไป ก็หันกลับไปนับถือลัทธิเดิมกันทั้งหมดสิ้น
พิธีบรรพชาสามเณรยุวธรรมทายาท รุ่นที่ 27
นาคยุวธรรมทายาท 69 คน ในโครงการบรรพชาสามเณรยุวธรรมทายาท รุ่นที่ 27 เข้าพิธีบรรพชา ณ วัดพระธรรมกาย
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ปลอดภัยเพราะอาศัยผู้รู้
ในอดีตกาล ที่เกาะตัมพปัณณิทวีป มีเมืองยักษ์ชื่อ สิริสวัตถุ เป็นที่อยู่อาศัยของพวกนางยักษิณี เมื่อเรือของพ่อค้าอับปางลง พวกนางยักษิณีรู้ว่า เหยื่ออันโอชะกำลังมาถึง จึงพากันประดับตกแต่งร่างกาย ถือของขบเคี้ยวของบริโภค พวกนางต่างเล้าโลมเหล่าพ่อค้าด้วยมารยาหญิง และพาพ่อค้าไปเมืองยักษ์ทันที เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น
ชัยชนะครั้งที่ 2 (ตอน ชนะอาฬวกยักษ์)
พระจอมมุนีได้ชัยชนะต่ออาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตสันดานหยาบกระด้าง ปราศจากความอดทน มีฤทธิ์มาก ได้เข้ามาต่อสู้จนตลอดทั้งคืน ด้วยวิธีทรมานอย่างดี คือ พระขันติธรรม ด้วยเดชแห่งชัยชนะของพระพุทธเจ้านั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านเถิด...
เนมิราชชาดก บำเพ็ญอธิษฐานบารมี (๓)
มนุษย์ทั้งหลายมักติดข้องกันอยู่เช่นนี้มายาวนาน ทำให้ลืมเลือนภารกิจหลักที่แท้จริงของชีวิต คือ การเกิดมาสร้างบารมี ทำความบริสุทธิ์บริบูรณ์ให้แก่ตนเอง ด้วยการกลั่นจิตกลั่นใจให้ใสบริสุทธิ์
อานิสงส์บูชาด้วยดอกบัว
ผู้ที่เกิดมาแล้วจำต้องตายในโลกนี้ ย่อมทำกรรมอันใดไว้ คือเป็นบุญ และเป็นบาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล เป็นสมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไปสู่ปรโลก อนึ่ง บุญและบาปนั้น ย่อมเป็นของติดตามเขาไปประดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณกรรม สะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก เพราะว่าบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๓ )
"ระหว่างพระพุทธเจ้ากับท่านอุรุเวลกัสสปะ ใครหนอจะมีอานุภาพมากกว่ากัน" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล่วงรู้ความคิดของชาวเมือง จึงตรัสถามท่านว่า "ดูก่อนกัสสปะ ท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอน หมู่ชฎิลผู้ผ่ายผอมเพราะกำลังประพฤติพรต ท่านเห็นอะไรจึงได้ ละไฟที่เคยบูชาเสียเล่า ท่านเห็นประโยชน์อะไรจึงมาประพฤติพรหมจรรย์กับเรา"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๖ )
พระราชาสดับเช่นนั้น ทรงปฏิเสธทันทีว่า "ลูก เอาทรัพย์ไปใช้เช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์เลย เลิกให้ทานเถิดลูก ลูกควรจะนำทรัพย์ที่พ่อจะให้นี้ ไปใช้จ่ายเที่ยวเล่นสนุกสนานให้เต็มที่ ไม่ต้องไปคิดถึงใคร และภพชาติต่อไปก็อย่าไปกังวล ลูกจงเก็บเกี่ยวความสุขในชาตินี้ให้เต็มที่เถิด"
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ - สันโดษให้ถูกหลักวิชา
ในอดีตกาล นกแขกเต้าหลายพันตัว อยู่ในป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคาในป่าหิมพานต์ ในบรรดานกแขกเต้าเหล่านั้น มีพญานกแขกเต้าตัวหนึ่ง เมื่อผลมะเดื่อต้นที่ตนอาศัยอยู่หมดผลแล้ว ก็จิกกินหน่อใบหรือเปลือกซึ่งยังเหลืออยู่ เป็นผู้ที่มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง สันโดษในอาหาร ไม่บินไปแสวงหาต้นอื่น