ชาตาชาดก-ชาดกว่าด้วยภรรยา 7 แบบ
ณ เมืองสาวัตถี มีครอบครัวของเศรษฐีผู้หนึ่งนามว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นหลังจากรับสะใภ้ที่เป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่เข้ามาอยู่ในบ้าน สะใภ้ที่ว่านี้ก็คือนางสุชาดาผู้เป็นน้องสาวของนางวิสาขา สะใภ้ผู้นี้สำคัญตนว่าเป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่จึงไม่ยอมก้มหัวให้กับใครเลยในครอบครัวสามี เที่ยวดุด่าเฆี่ยนตีทาสรับใช้ในเรือนของสามีอยู่เป็นประจำ
มัจฉทานชาดก ชาดกว่าด้วยการให้ข้าวเป็นทานแก่ปลา
เมื่อมานพผู้พี่เอาเศษอาหารให้ปลาแล้ว ก็ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศส่วนกุศลให้แก้เทพยดาฟ้าที่สิงสถิตอยู่ในแม่น้ำแห่งนี้ ส่วนเทวดาผู้รักษาน้ำได้อนุโมทนารับส่วนกุศล ที่มานพผู้พี่อุทิศมาให้ ลาภยศอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดขึ้นแก่ตน พ่อค้าผู้พี่เมื่ออุทิศส่วนกุศลเรียบร้อยแล้วก็เอาผ้าห่อปูริมแม่น้ำลงนอนพักหลับไป
อาวาริยชาดก ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล
ฤาษีได้ให้โอวาทคนแจวเรือ ซึ่งเป็นคนที่โง่เขลา มีนิสัยดุร้าย ขี้โกง " ขอให้ท่านจงอย่าคิดเคืองโกรธไม่ว่าจะในที่ใด ๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีที่อาตมาจะให้ ” “ อะไรกันท่านฤาษี นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านจะให้ผมหน่ะ ” “ ใช่แล้วล่ะโยม ” “ ไม่ได้ ข้าไม่ยอม เอาของดีของท่านเก็บไว้ใช้กับตัวเถิด ค่าจ้างของข้า ต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว เอาเงินมาให้ข้า ข้าต้องการเงินเท่านั้น ” ว่าแล้วคนแจวเรือก็ได้ทำการตบตี ทำร้ายฤาษีในทันที
มหาโมรชาดก ชาดกว่าด้วยพญานกยูงพ้นจากบ่วง
ครั้นเมื่อพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ประชาชนล้วนหลั่งไหลให้พระธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวชีวิต บ้างก็ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จิตใจให้ทำดี ครั้งนั้นได้มีหนุ่มรูปงามที่ตั้งใจจะละจากกิเลสทั้งปวง ออกบวชมุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อตรัสรู้แจ้งแห่งธรรม การงานใดที่เป็นกิจของสงฆ์ ภิกษุหนุ่มนี้ ปฏิบัติได้ดีไม่มีขาด ว่างจากกิจก็นั่งสมาธิตั้งอานาปานสติ
กัลยาณธรรมชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีกัลยาณธรรม
" เราไม่ได้ออกบวช แต่คนอื่นทั้งหมดกลับคิดว่าเราบวช นี่คงเป็นเสียงดีสินะ เราจะไม่ทำให้เสียงดีนี้หายไป เราจะออกบวช ” เศรษฐีจึงกลับไปเข้าเฝ้าพระราชาอีกครั้ง พระราชาเมื่อเห็นเศรษฐีเดินมาเข้าเฝ้าอีกก็แปลกใจจึงตรัสถามว่า “ ท่านมหาเศรษฐี ท่านเพิ่งไปเดี๋ยวนี้เอง ทำไมจึงกลับมาอีกเล่า ” “ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน กาลใดบุคคลได้สมัญญาในโลกว่า ผู้มีกัลยาณธรรม กาลนั้นนรชนผู้มีปัญญาไม่พึงทำตนให้เสื่อมสมัญญานั้นเสีย "
พระมหาสีลวะชาดก-ชาดกว่าด้วยการปรารภความเพียร
กาลครั้งนั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับยังพระเชตวันมหาวิหารกรุงสาวัตถี พระองค์ได้หยั่งรู้ถึงความทุกข์กายทุกข์ใจของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรรูปหนึ่งที่ไม่อาจแสวงหาโลกธรรมได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดให้ทุกข์นั้นบรรเทาลง
วันอาสาฬหบูชา 2567 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
วันอาสาฬหบูชา 2567 ตรงกับวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2567 วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ในสมัยพุทธกาลมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ
เสยยชาดก ชาดกว่าด้วยคบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
เมื่ออำมาตย์ผู้หนึ่งได้มีโอกาสไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงตรัสถามถึงเรื่องการถูกใส่ร้ายจนต้องราชทัณฑ์ “ แม้หม่อมฉัน จะถูกจองจำใส่โซ่ตรวน แต่สิ่งนี้กลับทำให้หม่อมฉันได้รับประโยชน์ คือได้โอกาสปฏิบัติธรรม จนได้เห็นดวงตาแห่งธรรมพะยะค่ะ ”
พิธีตักบาตรเทโวโรหณะ ณ ธุดงคสถานล้านนา
ธุดงคสถานล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดพิธีตักบาตรเทโวโรหณะ เนื่องในเทศกาลออกพรรษา
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - กลิ่นแห่งความหลุดพ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสตอบติสสฤๅษีว่า ชนเหล่าใดฆ่าสัตว์ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย มีความเห็นว่า ทานที่บุคคล ให้แล้วไม่มีผล เป็นผู้ประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ให้ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อ และโภชนะไม่ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบ และสัตว์เหล่าใดขวนขวายในอกุศลกรรม ตายแล้วย่อมเข้าถึงที่มืด มีศีรษะลงตกไปสู่นรก