มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ความทุกข์ในการครองเรือน
อยู่มาวันหนึ่ง เศรษฐีกรุงพาราณสีได้เกิดความคิดอย่างนี้ขึ้น ด้วยความรักและความคุ้นเคยในพระโพธิสัตว์ว่า "ชื่อว่าการบวชเป็นทุกข์ เรายังปริพาชกชื่อว่า วัจฉนขะ ผู้เป็นสหายของเราให้สึก แล้วแบ่งสมบัติทั้งหมดให้แก่ปริพาชกไปครึ่งหนึ่ง เราทั้งสองก็จักอยู่ด้วยความปรองดองกัน"
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - เป็นผู้ประเสริฐด้วยการปฏิบัติ
พระอินทร์ได้ฟังคำอธิบายเช่นนั้น ทรงหายสงสัยในการบำเพ็ญตบะของพระฤๅษี ด้วยตระหนักชัดแล้วว่า ท่านไม่ได้ปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ หรือความเป็นพระราชา มหาเศรษฐีเลย หากท่านมีความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ คือ ปรารถนา อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันประเสริฐ ซึ่งยากที่มนุษย์ธรรมดาจะกล้าคิดกล้าทำ
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - โลกตระการของคนเขลา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ตรัสถึงการให้ทานว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะเป็นการขจัดความตระหนี่ออกจากใจ จะได้เป็นบุญกุศลติดตัวข้ามภพข้ามชาติ เกิดมากี่ภพกี่ชาติจะได้ไม่ต้องลำบากในการทำมาหากิน จะได้สร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย แล้วจึงตรัสเรื่องการรักษาศีล ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งมวลที่จะทำให้มีความสุข ความบริสุทธิ์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ตบะธรรมนำชีวิตสู่นิพพาน
ให้ดูตัวอย่างพระบรมศาสดาของเรา ที่ทรงอดทนต่อถ้อยคำหยาบคายของผู้ที่ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เรื่องมีอยู่ว่า นางมาคันทิยามีจิตอาฆาตต่อพระพุทธองค์ ที่ไม่ยอมรับนางเป็นภรรยา อีกทั้งพระองค์ยังกล่าวถึงโทษในสังขารของนางว่า เป็นของไม่งาม เต็มไปด้วยมูตรคูถและกรีส เมื่อนางได้เป็นมเหสีของพระเจ้าอุเทน จึงหาทางแก้แค้นด้วยการจ้างคนไปตามด่าว่าพระพุทธองค์
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ตอบปัญหาธรรมะ
ครั้งนั้น มีลูกของเศรษฐีได้สนทนากันในเรื่องที่ว่า ทำอย่างไรจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อไม่รู้วิธี จึงได้ชักชวนกันออกแสวงหาธรรมะกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เมื่อได้รับการแนะนำจากอาจารย์ให้มาถามปัญหาธรรมะกับพระบรมศาสดา จึงพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - ขันติธรรมอยู่ที่ไหน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญขันติธรรมว่าเป็นเลิศ เป็นหลักเป็นประธานที่ทำให้เกิดคุณ คือ ศีล สมาธิ กุศลธรรมทุกอย่างจะเจริญขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยขันติเป็นพื้นฐาน ผู้มีขันติธรรมอยู่ในใจ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ย่างขึ้นสู่หนทางสวรรค์และนิพพานโดยแท้ พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอีกว่า "ยกเว้นปัญญาแล้ว เราตถาคตสรรเสริญว่า ขันติเป็นเลิศ" เพราะฉะนั้น ขันติบารมีจึงเป็นบารมีที่เราจะต้องสั่งสมไว้ให้มาก ให้ติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - มาฟังธรรมกันเถิด
ความรู้ที่เกิดจากการฟังธรรมของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความรู้อันบริสุทธิ์ ซึ่งเกิดจากใจที่หยุดนิ่งได้อย่างสมบูรณ์ ที่ท่านเรียกว่าการตรัสรู้ธรรม ยิ่งได้ยินได้ฟังและ นำไปประพฤติปฏิบัติตามมากเพียงไร ชีวิตก็จะเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป เพราะปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรม
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - แม้เป็นเทวดาก็อย่าประมาท
วลาในโลกนี้แสนสั้น เดี๋ยววันเดี๋ยวคืน ยังไม่ทันได้สั่งสมบุญให้เต็มอิ่ม ความชราก็เข้ามาเยือนแล้ว บางคนเกิดมายังไม่ทันได้สั่งสมบุญ กรรมในอดีตก็มาตัดรอนเสียก่อน ทำให้มีเหตุที่ต้องละสังขารไปก่อนถึงเวลาอันควร ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต ให้เห็นคุณค่าของเวลาแต่ละนาทีที่ผ่านไป โดยมีสติเตือนตนเสมอว่า เราจะไม่ประมาท โดยเฉพาะไม่ประมาทในการประพฤติธรรม
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ไม่ประมาทในธรรม
พระบรมศาสดาของเราทรงย้ำเตือนให้พุทธบริษัทไม่ประมาทในชีวิต ให้เร่งรีบสั่งสมบุญบารมี และฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง จะได้หลุดพ้นจากอาสวกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทรมาน *เหมือนในสมัยหนึ่ง มีภิกษุบวชใหม่จำนวน ๕๐๐ รูป เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพระบวชใหม่ จึงมีจิตใจฟุ้งซ่าน เพราะอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - อย่างหลงใหลเพลิดเพลิน
สมัยหนึ่งในกรุงราชคฤห์ มีหญิงงามเมืองผู้มีความงดงามคนหนึ่ง ชื่อ สิริมา ได้เคยประทุษร้ายต่อนางอุตตรา ซึ่งเป็นลูกสาวของท่านปุณณเศรษฐี เมื่อสำนึกผิดแล้วได้ขอโทษนางอุตตรา และทูลขอขมาโทษพระบรมศาสดาด้วย ในวันนั้น หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาว่าพึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้