ปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือ วันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์
คำถามที่คนอยากรู้มากที่สุด เกี่ยวกับธรรมยาตรา
แม่บทแห่งธรรม ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือที่เขียนตามพจนานุกรมว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นพระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณและเป็นพระสูตรที่เป็นแหล่งรวมของหลักธรรมสำคัญ ๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ พระสูตรนี้จึงได้สมญาว่า “ปฐมเทศนา”...
อานิสงส์บูชาสิ่งแทนพระพุทธองค์
“ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นสถานที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ.....
อานิสงส์บูชาพระเจดีย์ทุกวัน
การบูชามี ๒ อย่าง ได้แก่ อามิสบูชาและปฏิบัติบูชา อามิสบูชา คือ การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ มีดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องหอมอาหารหวานคาว และน้ำ เป็นต้น
อานิสงส์การจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา
การบูชา คือ การแสดงออกในลักษณะของความเลื่อมใสศรัทธา มีการยกย่องเชิดชูทั้งทางกาย วาจา และใจ ด้วยความนอบน้อมทั้งต่อหน้าและลับหลัง การแสดงต่อหน้าเป็นการแสดงออกถึงความเคารพและตระหนักในคุณธรรมความดีของบุคคลที่เราบูชา อย่างจริงใจ
ธุดงค์ธรรมชัย จาริกไปตามพุทธโอวาท
ธุดงค์ธรรมชัย จาริกไปตามพุทธโอวาท เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว
กุสโลบายในการเข้าถึงพระรัตนตรัย
ชนเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสในพระตถาคต ครั้นทำกาละแล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
โพชฌงค์ ๗ ทางสำเร็จสู่นิพพาน
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปในจาคะคือการสละ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์..เจริญวิริยสัมโพชฌงค์...เจริญปีติสัมโพชฌงค์.เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์..เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะน้อมไปในจาคะ โพชฌงค์ ๗ นี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้