อานิสงส์ถวายธูปหอม
เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายธูปไว้ในพระคันธกุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ เราย่อมเป็นที่รักของชนแม้ทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการถวายธูป
อานิสงส์ถวายประทีป
การบูชาบุคคลผู้ควรบูชาเป็นมงคลอย่างยิ่ง
อานิสงส์ถวายปูนขาวร่วมสร้างเจดีย์
ใครๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวก ผู้สมควรบูชา ผู้ล่วงธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า ผู้ข้ามความโศกและความร่ำไรแล้ว ว่าบุญนี้มีประมาณเท่านั้นเท่านี้ได้ ใครๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคล ผู้บูชาปูชารหบุคคลเหล่านั้น ผู้ดับแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ว่า บุญนี้มีประมาณเท่าใด
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรบูชา
ผู้ใดพึงบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ยังดำรงพระชนมชีพอยู่ก็ดี พึงบูชาพระบรมธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด แม้พระองค์ท่านนิพพานแล้วก็ดี เมื่อจิตอันเลื่อมใสของผู้นั้นเสมอกัน บุญก็มีผลมากเสมอกัน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงทำสถูปบูชาพระบรมธาตุของพระชินเจ้าเถิด
พุทธกิจของพระพุทธเจ้า
ในเวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต เวลาเย็นทรงแสดงพระธรรมเทศนา เวลาย่ำค่ำทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุ เที่ยงคืนทรงพยากรณ์ปัญหาแก่เทวดา เวลาใกล้รุ่งทรงตรวจดูหมู่สัตว์ผู้ที่พระองค์จะโปรดได้
เจริญสังฆานุสติ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์
พระสังฆคุณ
สุปฏิปนฺฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส
งานตักบาตรพระ จังหวัดราชบุรี
ทางทีมงานได้ฝากบอกถึงลูกๆพระธัมฯทั่วประเทศมาว่า “ถึงแม้การจัดงานตักบาตรในแต่ละครั้งจะเหนื่อย และลำบากสักแค่ไหน ก็ขอให้ลูกๆ พระธัมฯทุกๆ จังหวัด จงทำต่อไป เพราะถึงแม้ว่าจะเหนื่อยมากแค่ไหน ลำบากสักเพียงใด พอได้เห็นภาพประวัติศาสตร์วันนี้แล้ว ขอบอกว่า เหนื่อย...แต่คุ้มจริงๆ ในเมื่อโพธารามทำได้ ที่ไหนๆก็ทำได้”
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - อย่าอาฆาตกันเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าว่าแต่พระเจ้าสุปปพุทธะ จะขึ้นไปอยู่บนปราสาทชั้น ๗ และมีทหารกำยำล่ำสันเฝ้ารักษาประตูอยู่เช่นนี้เลย แม้จะมีฤทธิ์เหาะไปได้ในอากาศ หรือจะทรงหนีไปทางมหาสมุทร หรือจะทรงหนีเข้าไปในซอกเขา ก็จะต้องถูกแผ่นดินสูบที่เชิงบันไดของปราสาทนั่นแหละ เพราะถ้อยคำของตถาคตไม่เป็นสอง เรากล่าวอย่างไร ย่อมเป็นอย่างนั้น