ภูมิของพระโสดาบัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
อุทกดาบส อาฬารดาบส
เหล่าสัตว์ที่มีอำนาจแห่งบุญส่งเสริม ไปแล้วสู่กามภพ และรูปภพ หรือแม้ไปสู่ภวัคคพรหม ย่อมกลับสู่ทุคติอีกได้ เหล่าสัตว์มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังจุติเพราะสิ้นอายุ ภพไหนๆ ชื่อว่า เที่ยงไม่มี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้อย่างนี้
กรรมของการไม่เป็นภรรยาที่ดี
คนพาลทำบาปกรรมทั้งหลาย ก็ไม่รู้สึกตัว ผู้มีปัญญาทราม ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนในภายหลัง ดุจถูกไฟไหม้
อานิสงส์นำพระพุทธเจ้าข้ามแม่น้ำ
เราเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก มีปัญญาและสำรวมแล้วด้วยดี ยังกายอันเป็นที่สุดอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ที่เราได้ข้ามส่งพระชินเจ้า ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งบุญที่เราได้ทำไว้ในทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ
อานิสงส์เอาของหอมฉาบทากุฏิ
บุคคลใดเอาของหอมทาพื้นพระคันธกุฎี ด้วยผลของกรรมนั้น ไม่ว่าเขาจะเกิดในชาติใดๆ จักเป็นผู้มีกลิ่นกายหอมทุกชาติไป จักเป็นผู้เจริญด้วยกลิ่นคือคุณแห่งศีล จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วจักปรินิพพาน เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตจำนงไว้
อานิสงส์สร้างศาลาต้อนรับพระ
บุคคลพึงเว้นกิจอันไร้ประโยชน์ พึงเป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาสอดส่องในสิ่งที่ควรและไม่ควรทำ แล้วยึดเอาแต่สิ่งที่ควร ประกอบด้วยประโยชน์ มีความยินดีในธรรมที่พึงประพฤติ เพราะความยินดีในธรรมเป็นความยินดีอันสูงสุด
อานิสงส์เลื่อมใสเสียงธรรม
เราอยู่บนเครื่องลาดใบไม้ ณ ภูเขาหิมวันต์ ได้ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ผุสสะ ผู้กำลังทรงแสดงธรรม ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
ชัยชนะครั้งที่ ๘ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(ตอนที่ ๑ ชนะพกาพรหม)
นักสร้างบารมีต้องมีใจจรดจ่ออยู่กับการสร้างบารมี ไม่ใช่ส่งใจไปในเรื่องอื่นที่ไม่เป็นสาระ อันเป็นเหตุให้อาสวกิเลสเข้ามาอยู่ในใจ ต้องคิดตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรบารมีของเราจึงจะเต็มเปี่ยมบริบูรณ์
ศาสดาเอกของโลก(๓)
นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็นว่า การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ความแก่ ความเจ็บและความตายก็เป็นทุกข์ ท่านจึงแสวงหาหนทางพ้นทุกข์
ศาสดาเอกของโลก (๒)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นแบบของยอดนักสร้างบารมี ที่สร้างบารมีในทุกเวลาทุกสถานที่ ไม่ว่าจะกี่ภพกี่ชาติพระพุทธองค์มุ่งสร้างบารมีโดยไม่มีข้อแม้