มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - อย่าล่วงละเมิดเกินขอบเขต
การล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม เป็นทางมาแห่งบาปอกุศล และเป็นความหมองใจ ที่ชักนำไปสู่อบายได้ การผิดศีลข้อที่ ๓ ในสังคมปัจจุบันนี้ ก็มีกันอยู่เนืองๆ เมื่อผิดพลาดล่วงเกินกันแล้ว ส่วนใหญ่มักไม่รู้ถึงโทษของการล่วงเกิน เหมือนดังพุทธพจน์ที่อุปมาไว้ว่า เหมือนปลาที่กำลังว่ายเข้าไปสู่เครื่องดัก ผลก็คือความตาย
ทำไมจึงรวย ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับสุภมาณพ โตเทยยบุตรว่า ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้.
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๓ )
"ระหว่างพระพุทธเจ้ากับท่านอุรุเวลกัสสปะ ใครหนอจะมีอานุภาพมากกว่ากัน" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล่วงรู้ความคิดของชาวเมือง จึงตรัสถามท่านว่า "ดูก่อนกัสสปะ ท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอน หมู่ชฎิลผู้ผ่ายผอมเพราะกำลังประพฤติพรต ท่านเห็นอะไรจึงได้ ละไฟที่เคยบูชาเสียเล่า ท่านเห็นประโยชน์อะไรจึงมาประพฤติพรหมจรรย์กับเรา"
คาถากันยักษ์ ตอนที่ ๓
ขอนอบน้อมแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า ขอนอบน้อมแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลส มีความเพียร ขอนอบน้อมแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงย่ำยีมารและเสนามาร ขอนอบน้อมแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
เป็นเทพก็ต้องทำบุญ
ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลาย พึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ตรัสแล้ว โดยวิธีที่ผลนั้นเป็นผลใหญ่ไซร้ สัตว์ทั้งหลาย พึงกำจัดความตระหนี่ที่เป็นมลทิน มีใจผ่องใส พึงให้ทาน ทานที่ให้แล้วจะมีผลมากในพระอริยบุคคลทั้งหลายตามกาลสมควร ทายกเป็นอันมาก ครั้นให้ทักษิณาทาน ในทักขิไณยบุคคลทั้งหลายแล้ว ละจากความเป็นมนุษย์นี้แล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ทายกผู้ไม่มีความตระหนี่เหล่านั้น ครั้นไปสู่สวรรค์แล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์เสวยผลแห่งกุศลกรรมของตัวเอง
ศีลธรรม-มนุษยธรรม
การฆ่าหรือประทุษร้ายร่างกายผู้อื่นรวมทั้งสัตว์ทั้งหลาย ล้วนชื่อว่านำความทุกข์กาย ทุกข์ใจมาสู่ตนและผู้อื่น ได้ชื่อว่าเป็นการละเมิดศีลข้อ 1 ซึ่งเป็นมนุษยธรรม การละเมิด ศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะถึงขั้นศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย ล้วนแต่เป็นการทำลาย คุณภาพใจให้เสื่อมลง
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ชีวิตที่ประเสริฐ
พระองค์ถือเอาความสิ้นไปของหยาดน้ำค้างนั้น เป็นอารมณ์ จึงมองเห็นภพทั้งสามดุจมีเพลิงลุกไปทั่ว จากนั้นได้เสด็จไปหาพระบิดาซึ่งกำลังประทับอยู่ ณ ศาลาวินิจฉัย เพื่อทูลลาบวช พระบิดาทรงห้ามว่า "อย่าผนวชเลย ถ้าเธอยังพร่องในเบญจกามคุณทั้งหลาย ฉันเพิ่มเติมให้ ถ้าผู้ใดเบียดเบียนเธอ ฉันก็จะห้ามปราม"
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (๓)
วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทุกชีวิตย่างสู่วัยเสื่อมและวัยชรา หากเรามองย้อนไปพิจารณาการกระทำของเรามาแล้วพบว่า
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (3)
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ปราชญ์กล่าวว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งปวงนั้น สัตว์เหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ เมื่อเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ ก็ย่อมได้ผลอันเลิศ
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๑ )
สัมมาทิฏฐิเบื้องต้นทั้ง ๑๐ ประการนี้ เปรียบเสมือนลู่ที่ให้เราวิ่งไปตามทาง เหมือนแสงทองส่องนำชีวิตให้ก้าวไปสู่ความสุขความสำเร็จ จึงต้องตอกย้ำบ่อยๆ เพื่อเป็นการทบทวนด้วยว่า เรามีสัมมาทิฏฐิครบถ้วนบริบูรณ์แล้วหรือยัง