วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
พุทธกาลสมัยในขณะที่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขจรขจายไปทั่วแว่นแคว้นดินแดนชมพูทวีป ยังความร่มเย็นเป็นสุขด้วยรสแห่งธรรมที่องค์พระศาสดาตรัสรู้นั้น แผ่นดินมคธกลับผลัดเปลี่ยนอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารอันเป็นองค์ศาสนูปถัมภกมาเป็นโอรสนามพระเจ้าอชาตศัตรู
เวฬุกะชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการเป็นผู้ว่ายากสอนยาก
ครั้งอดีตกาล ณ พระเชตะวัน มหาวิหารอันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนาได้เกิดเรื่องราวมิงามของภิกษุผู้ว่ายากอยู่ท่านหนึ่ง ไม่ว่าใครจะว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ตามท่านก็มิเคยฟัง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระกรุณาธิคุณให้ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้า เพื่อปลดโทษให้
ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น
กากาติชาดก-ชาดกว่าด้วยนางกากี
ในพุทธกาลสมัย ครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วนั้น พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะปักฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จึงได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระธรรม โปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายยังดินแดนน้อยใหญ่ชมพูทวีป
พัพพุชาดก-ตอนที่ 2-ชาดกว่าด้วยวิธีให้แมวตาย
ย้อนไปในอดีตกาลในยุคสมัยที่พระเจ้าพรหมทัตเสวยพระราชสมบัติปกครองแคว้นพาราณสีอยู่นั้น พระโพธิสัตว์ในยุคนั้นได้บังเกิดเป็นช่างสลักหิน ในเวลานั้นช่างสลักหินผู้นี้ได้เติบโตเจริญวัยเป็นหนุ่มศึกษาวิชาศิลปะจนสำเร็จ
ตินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยเรื่องอุบายหนีตาย
ในสมัยพุทธกาลองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหารเผยแผ่ธรรมะคำสอนให้แก่เหล่าพุทธสาวกได้ซึมซับในพระธรรมคำสอน ด้วยพระปัญญาบารมีของพระองค์ได้ทำให้เหล่าภิกษุในพระเชตวันต่างรู้สึกเลื่อมใสและเคารพนับถือเป็นยิ่งนัก
สัตติคุมพะชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องการคบหาคนพาล
สารัตถะแห่งพระพุทธศาสนาข้อสำคัญที่ประจักษ์แจ้งทั่วกันอย่างหนึ่งก็คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยงไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง ในแผ่นดินมคธซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปักธงชัยประกาศศาสนาไว้ ก็ไม่พ้นจากความจริงจากข้อนี้ได้ เมื่อสิ้นอำนาจพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำปิตุฆาตขึ้นครองมคธตามคำยุยงของพระเทวทัต
อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู
พุทธกาลสมัยหนึ่งครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกทั้งหลายกลับจากกรุงราชคฤห์ แผ่นดินมคธมาสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ นครสาวัตถี ในโกศลรัฐนั้น สิ่งร้าวรานที่เกิดจาก เทวทัตเถระ กระทำย่ำยีต่อพระพุทธศาสนาในการแบ่งแยกหมู่สงฆ์และสะพิงบัญญัติใหม่แปลกไปจากพุทธวินัยในแคว้นมคธก็กลายเป็นข้อวิภาคเจ็บร้อนขึ้นในธรรมสภา
เวทัพพชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการไม่รู้จักกาลเทศะ
พุทธกาลครั้งหนึ่งยังมีภิกษุชาวสาวัตถีรูปหนึ่ง มีความอวดดื้อถือดีจนเป็นที่เอือมระอาต่อภิกษุรูปอื่นๆ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบท่านจึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณแล้วพบว่า ภิกษุรูปนี้เมื่อกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากจนเป็นเหตุให้ตนเองและบุคคลเป็นพันๆ คน ต้องถึงแก่ความตาย
ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร
ขณะเมื่อพระพุทธศาสดาประทับในมหาวิหารทรงแจ้งในพระญาณว่า ยังมีภิกษุเกียจคร้านอาศัยครองเพศสมณะไปวัน ๆ ทรงตักเตือนด้วยพุทธโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลายกระทำความเพียร ในที่ที่ควรประกอบความเพียร ก็ยังบรรลุถึงราชสมบัติได้” ทรงระลึกชาติของพระองค์ด้วยชาดกเรื่องหนึ่งส่งเสริมพุทธโอวาทเกี่ยวกับความเพียรนั้น