ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว
สักกปัญหสูตร ตอนที่ ๒ (โคปกเทพบุตร)
การปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิภาวนา เป็นกรณียกิจ คือ กิจที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะเป็นกิจหลักที่จะนำพาทุกๆ คน ให้เข้าถึงความสุขที่แท้จริง คือ
สำรวมอินทรีย์นำชีวีพ้นทุกข์
ก็ผู้ใด รู้ไม่เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นย่อมตกอยู่ในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนในภายหลัง ส่วนผู้ใด รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นก็จะพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากกรงเล็บของแมว ฉะนั้น
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 153
“โอว...สาลิกาจ๋า เธอช่างดีเหลือเกิน ฉันได้คุยกับนางนกสาลิกามามากต่อมาก ยังไม่เคยเห็นใครที่ทั้งสวยและจิตใจงดงามอย่างเธอมาก่อน” คำป้อยอของสุวโปดกเห็นจะถูกอกถูกใจของนางสาลิกาอย่างมาก มิตรภาพแรกพบระหว่างนกทั้งสองกำลังเป็นไปได้อย่างสวยงาม ด้วยวาจาอันไพเราะที่ต่างฝ่ายต่างมีให้ซึ่งกันและกัน
ทุมเมธชาดก-ชาดกว่าด้วยการใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์
วสันตฤดูครั้งนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับมาพักผ่อนพระวรกาย หลังจากตรากตรำเผยแผ่พระศาสนามาเนิ่นนาน โดยไม่ย่อท้อต่อความทุรกันดารและอุปสรรคใดๆ พระเกียรติคุณนี้เป็นที่สรรเสริญกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธบริษัท พระพุทธองค์ทรงใช้วาระนั้นปรารภถึงการบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - อย่างหลงใหลเพลิดเพลิน
สมัยหนึ่งในกรุงราชคฤห์ มีหญิงงามเมืองผู้มีความงดงามคนหนึ่ง ชื่อ สิริมา ได้เคยประทุษร้ายต่อนางอุตตรา ซึ่งเป็นลูกสาวของท่านปุณณเศรษฐี เมื่อสำนึกผิดแล้วได้ขอโทษนางอุตตรา และทูลขอขมาโทษพระบรมศาสดาด้วย ในวันนั้น หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาว่าพึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ครั้งหนึ่งในชีิวิตของลูกผู้ชาย
"ดูก่อนโสณะ พรหมจรรย์มีภัตรหนเดียว ต้องนอนผู้เดียวตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ท่านเป็นคฤหัสถ์อยู่ในเรือน จงหมั่นประกอบพรหมจรรย์อันมีภัตรหนเดียว นอนผู้เดียว ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด" แม้พระอาจารย์จะทักเช่นนี้ แต่ด้วยมโนปณิธานอันแน่วแน่ที่จะบวชให้ได้ ท่านเพียรเข้าไปขออนุญาตพระเถระถึง ๓ครั้ง
พระธรรมเทศนาหลวงปู่วัดปากน้ำ บทปัพพโตปมาคาถา 28 มีนาคม พ.ศ.2497
ใครๆไม่อาจสามารถจะเอาชนะความแก่ความตายนั้น ด้วยการสู้รบด้วยเวทมนต์ เวทมนต์คาถาใดๆ วิชาพราหมณ์ เวทมนต์กลคาถาใดๆ ไม่อาจสามารถจะสู้รบกับความแก่ความตายนั้นได้ หรือจะสู้รบด้วยทรัพย์ มีทรัพย์ จะเอาทรัพย์ไปไถ่ถอนตัว แก้ความแก่ความตาย เรื่องความแก่ความตายไม่มีทางสู้ ไม่มีทางแก้ทีเดียว จะแก้อย่างไรก็แก้ไม่ได้
สิ่งที่ทำได้ยากเมื่อให้ไปแล้ว
คนควรให้ทาน จะน้อยหรือมากก็ตาม แต่ผู้ใด ครั้นให้ทานแล้ว ไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง การไม่เดือดร้อนใจนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ กว่าการพูดว่าจะให้สิ่งของที่เป็นที่รักนั้น เหตุอย่างอื่นนั้นทั้งหมด เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - โทษของการเป็นผู้ว่ายาก
เมื่อตรัสเล่าเรื่องนี้แล้ว พระบรมศาสดาก็ตรัสสรุปว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แร้งนั้นถึงความพินาศฉันใด แม้ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าไม่เชื่อคำสอนของผู้รู้ทั้งหลาย ผู้หวังอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล แม้ผู้นั้นก็จะถึงความพินาศอย่างนั้นเหมือนกัน”