เตรียมแผ่นลาน จารพระธรรม
ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับสั่งกับพระอานนท์พุทธอุปัฎฐากว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้เป็นพระศาสดาปกครองคณะสงฆ์สืบต่อจากพระองค์ แต่ทรงให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอน เป็นศาสดาแทนพระองค์ต่อไปในกาลภายหน้า
คัมภีร์ใบลานราษฎร์ ร่วมสืบศาสน์และชาติไทย
พระพุทธศาสนาเริ่มเข้ามาประดิษฐานในแผ่นดินสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก ราวปีพุทธศตวรรษที่ 3 เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะ มหาราชผู้ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย โปรดเกล้าฯ ให้พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเดินทางจากแคว้นมคธมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบนี้ ซึ่งช่วงเวลานั้นประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง และมีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่จังหวัดนครปฐ
เล่าเรื่องคุณยาย ตอน พระไตรปิฎกในตัว
หลวงพ่อครับ..ผมมีเรื่องจะเล่าเกี่ยวกับคุณยายอีกเรื่องหนึ่งครับ ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับผมโดยตรงหรอกครับ แต่เนื่องจากคุณยายท่านมาเล่าให้ผมฟัง แล้วผมก็รู้สึกทึ่ง จนเมื่อนึกถึงเรื่องนี้ทีไร ก็รู้สึกมีแรงฮึดในการสร้างบารมีทุกทีเลยครับ
พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑโฒ)
ประวัติพระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑโฒ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก
เส้นทางชีวิตและความคิดของพระสงฆ์ไทย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) "สมเด็จเกี่ยว" ผู้กลายเป็นตำนานพระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก
คัมภีร์แห่งกษัตริย์...สมบัติแห่งแผ่นดิน
คัมภีร์ใบลานที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง หรือโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง รวมถึงคัมภีร์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่สร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง หรือฉบับของหลวง ส่วนคัมภีร์ใบลานที่พระภิกษุสงฆ์หรือราษฎรสร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับราษฎร์ หรือ ฉบับเชลยศักดิ์
โครงการพระไตรปิฎก วัดพระธรรมกาย
วัดพระธรรมกายได้จัดตั้งโครงการพระไตรปิฎกขึ้นในปี พ.ศ.2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ รักษา รวบรวม ถ่ายภาพคัมภีร์ใบลาน และจัดทำฐานข้อมูลพระไตรปิฎก เพื่อการศึกษาค้นคว้า สำหรับผู้สนใจทั่วไป ทั้งรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และดิจิทัล
พระโปฐิลเถระ
การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า การศึกษาคันถธุระ ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในอัตภาพ เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจความเพียรพยายามแล้ว บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ
ธุดงค์ธรรมชัยกับการปฏิบัติธุดงควัตร
ธุดงควัตร เป็นพุทธประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เนื่องจาก ธุดงค์ คือ บทฝึกตนในการ กำจัดกิเลสทางพระพุทธศาสนาแบบเฉียบพลัน ที่เรียกว่า ธุตังคะ มีทั้งหมด 13 ข้อ โดยผู้ปฏิบัติจะได้ฝึกความ อดทน และใช้ความเพียรสูง กว่าปกติ ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติให้การถือธุดงค์เป็นข้อบังคับ คือ ใครจะถือก็ได้ หรือไม่ถือก็ได้ แต่พระองค์ทรงอนุญาตให้ทำได้ เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้ บรรลุธรรมง่ายขึ้น
สามเณรนิโครธ (๓)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย เข้าไปหาสกุลใด มนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ ๕ ประการ คือ สมัยใด บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล จิตของพวกมนุษย์ ย่อมเลื่อมใส สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ ให้เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์