มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - อยู่กับปัจจุบันธรรม
เมื่อใจหยุดนิ่งเข้าไปถึงธรรมกายแล้ว เราจะเปรียบเทียบได้ เห็นชัดด้วยตนเองว่า กายธรรมนี้เป็นขันธวิมุตติที่หลุดพ้นจากขันธ์ห้า เป็นกายที่พ้นจากไตรลักษณ์ ออกนอกภพสาม เป็นธรรมขันธ์ คือ ทั้งก้อนกายมีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ เป็นธาตุล้วนๆ ธรรมล้วนๆ ควรยึดไว้เป็นที่พึ่งที่ระลึก
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - บัณฑิตต้องอบรมตน
สมัยหนึ่ง พระราชาตรัสถามว่า "ท่านรัฐบาลผู้เจริญ คนส่วนใหญ่ออกบวชเพราะว่าแก่ชรา อยากมีที่พึ่งทางใจ เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง เพราะเสื่อมจากโภคสมบัติบ้าง จึงอยากมาอาศัยพระศาสนา และเสื่อมจากญาติบ้าง เมื่อเห็นว่าจะไม่มีที่พึ่ง จึงพากันออกบวช แต่ท่านไม่ได้มีความเสื่อมเหล่านั้นเลย แล้วทำไมถึงออกบวชเป็นบรรพชิตเล่า"
มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ - เส้นทางสมณะ
พอดำริเช่นนั้นแล้ว สุภัททปริพาชกจึงเข้าไปหาพระอานนท์ ที่ดงป่าไม้สาละของพวกมัลลกษัตริย์ เพื่อกล่าวถึงความตั้งใจของตน ที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทูลถามปัญหาที่ค้างคาใจ แต่ก็ถูกพระอานนท์กล่าวห้ามถึง ๓ครั้ง เพราะท่านเกรงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงลำบากพระวรกาย เนื่องจากพระพุทธองค์กำลังอาพาธ จึงไม่อยากให้ใครมารบกวน
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - ขันติธรรมอยู่ที่ไหน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญขันติธรรมว่าเป็นเลิศ เป็นหลักเป็นประธานที่ทำให้เกิดคุณ คือ ศีล สมาธิ กุศลธรรมทุกอย่างจะเจริญขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยขันติเป็นพื้นฐาน ผู้มีขันติธรรมอยู่ในใจ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ย่างขึ้นสู่หนทางสวรรค์และนิพพานโดยแท้ พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอีกว่า "ยกเว้นปัญญาแล้ว เราตถาคตสรรเสริญว่า ขันติเป็นเลิศ" เพราะฉะนั้น ขันติบารมีจึงเป็นบารมีที่เราจะต้องสั่งสมไว้ให้มาก ให้ติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - มองโลกในแง่ดี
การสร้างบารมีในสภาวะปัจจุบันนี้ เราต้องคบค้าสมาคมกับบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งต่างจิตต่างใจ ต่างอัธยาศัยกัน มีทั้งคนพาลและบัณฑิตปะปนกันอยู่ บางครั้งอาจจะมีอุปสรรคบ้าง แต่ก็อย่ายอมแพ้ ให้สู้ต่อไป สู้ด้วยธรรมสู้ด้วยความถูกต้องดีงาม เพราะเราปรารถนาจะช่วยเหลือชาวโลกให้พ้นจากความทุกข์
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - นางยักษิณี ผู้ใคร่ในธรรม
นางยักษิณีตนหนึ่ง ได้อุ้มอุตราผู้เป็นธิดา และจูงปุนัพพสุผู้เป็นลูกชายแสวงหาอาหารริมกำแพง และริมคูคลองหลังวัดพระเชตวัน เมื่อไปถึงซุ้มประตู นางก็เห็นพุทธบริษัทสงบนิ่งไม่ไหวติง ฟังธรรมด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า เหมือนเปลวประทีปตั้งไว้ในที่ที่ไม่มีลม จึงเกิดความเลื่อมใสแล้วคิดว่า ก็ในที่นี้คงจะมีของแจกให้เรากิน เพื่อประทังชีวิตได้แน่
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - กตัญญู คุณค่าของความเป็นคน
พระราชาทรงดำริว่า ช้างพังนี้มีอุปการะแก่เรามาก จึงพระราชทานเครื่องคชาภรณ์ทุกอย่าง ได้บำรุงอย่างดีเหมือน กับที่พระเจ้าอุเทนทำกับภัททวดีช้างพังฉะนั้น แต่ต่อมาภายหลัง เมื่อช้างพังต้นโอฏฐิพยาธิชราภาพลง พระราชารับสั่งให้ริบทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนทำนองที่ว่า เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพลนั่นเอง
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ - รู้จักพอ ก่อให้เกิดสุข
การเปลี่ยนแปลง คือ การแสวงหา นั่นคือ สัญญาณบอกให้เรารู้ว่า เรายังไม่พบของที่ดีจริง จึงเบื่อหน่ายเร็ว หายเห่อเร็ว เมื่อเบื่อก็เปลี่ยนแปลง แสวงหากันต่อๆ ไปอย่างนั้น การแสวงหาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้แหละ ที่เรียกว่าไม่สันโดษ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ตายก่อนตาย ตายแล้วสบาย
ความตายของมนุษย์มีอยู่ ๓ ประเภท คือ ตายหลังตาย ตายขณะตาย และตายก่อนตาย ตายหลังตาย คือ ขณะตายนั้นไม่มีสติ หรือไม่รู้เนื้อรู้ตัวมาก่อน เสียชีวิตกระทันหัน เช่นนี้เป็นต้น กว่าจะรู้ตัวว่า ตนเองเสียชีวิตแล้ว ก็ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง หรือเกินไปกว่านั้นก็มี ต้องไปเป็นกายสัมภเวสีที่ล่องลอยไปมา จะทักทายใครก็ไม่มีใครรู้เรื่อง เพราะอยู่กันคนละภพภูมิ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ผู้ประมาทในวัย
รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้นย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้าง เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า ความไม่ประมาท เลิศกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย