มสกชาดก ชาดกว่าด้วยมีศัตรูผู้มีปัญญาดีกว่ามีมิตรโง่
อันชื่อว่ามนุษย์ย่อมมีทั้งดีและร้าย เมื่อมีคนที่ทำกรรมดีก็มีคนที่ทำกรรมชั่วเช่นกัน ครั้งหนึ่งเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวมคธได้เกิดเรื่อพิสดารขึ้น
ผู้มีปัญญา ไม่ประมาท
ผู้มีปัญญา ไม่ประมาท คือไม่มัวเมาในวัย ในอายุ และไม่มัวเมาในชีวิต ไม่เลินเล่อ ความผิดพลาดก็จะไม่เกิดขึ้น ในเมื่อบุคคลอื่นประมาท คือมัวเมาในวัยในอายุ และมัวเมาในชีวิต ทำให้เกิดความสะเพร่าเลินเล่อ ขาดสติสัมปชัญญะ ทำอะไรก็ผิดพลาด ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผู้ประมาทนั้น ย่อมประสบแต่ความพินาศ แต่บุคคลผู้มีปัญญาดีนั้นไม่ประมาท ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ในเมื่อผู้อื่นประมาทและหลับอยู่ ย่อมละทิ้งบุคคลผู้โง่นั้นไป เหมือนม้าที่มีฝีเท้าดี ย่อมวิ่งไปได้เร็ว ละทิ้งม้าตัวที่ไม่มีกำลังไปฉะนั้น
ผู้มีปัญญา
ปัญญา หมายถึง ความฉลาด ความรอบรู้ ความเข้าใจชัดในสิ่งต่างๆ ผู้มีปัญญาย่อมรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักเหตุผล คือ รู้จักสืบสวนจากผลไปหาเหตุ และจากเหตุไปหาผล
ผู้มีปัญญาย่อมอยู่ด้วยความไม่ประมาท
คนตายแล้วยังไม่ตาย ก็เพราะมีชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาท ส่วนคนเป็นที่ตายแล้ว ก็เพราะมีชีวิตอยู่อย่างประมาท คนพาลชอบอยู่ด้วยความประมาท
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ผู้มีปัญญาย่อมไม่โศก
วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์กับพราหมณ์ผู้เป็นพ่อ ได้ออกไปไถนาตั้งแต่เช้าตรู่ พ่อก็ไถนาไป ส่วนท่านกำลังเผาหญ้าอยู่ งูเห่าตัวหนึ่งได้เลื้อยออกมาจากโพรงไม้ เพราะกลัวถูกไฟเผา ด้วยความโกรธจึงกัดท่านทันที เมื่อรู้ว่าถูกงูพิษกัด ท่านจึงเรียกพ่อให้มาช่วย พ่อได้วิ่งมาดู แต่ไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร
กัลยาณธรรมชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีกัลยาณธรรม
" เราไม่ได้ออกบวช แต่คนอื่นทั้งหมดกลับคิดว่าเราบวช นี่คงเป็นเสียงดีสินะ เราจะไม่ทำให้เสียงดีนี้หายไป เราจะออกบวช ” เศรษฐีจึงกลับไปเข้าเฝ้าพระราชาอีกครั้ง พระราชาเมื่อเห็นเศรษฐีเดินมาเข้าเฝ้าอีกก็แปลกใจจึงตรัสถามว่า “ ท่านมหาเศรษฐี ท่านเพิ่งไปเดี๋ยวนี้เอง ทำไมจึงกลับมาอีกเล่า ” “ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน กาลใดบุคคลได้สมัญญาในโลกว่า ผู้มีกัลยาณธรรม กาลนั้นนรชนผู้มีปัญญาไม่พึงทำตนให้เสื่อมสมัญญานั้นเสีย "
ส่องธรรม ล้ำภาษิต : ทำคุณบูชาโทษ
การบำเพ็ญประโยชน์ โดยไม่ฉลาดในประโยชน์ จะนำความสุขมาให้ไม่ได้เลย ผู้มีปัญญาทรามย่อมพร่าประโยชน์ ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น (ขุ.ชา.เอก.๒๗/๑๕)
โสฬสญาณ
นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญา ให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางชัฏนี้
ความขยัน ความไม่ประมาท
ด้วยความขยัน ด้วยความไม่ประมาท ด้วยความสำรวมระวัง และด้วยการข่มใจตนเอง ผู้มีปัญญาควรสร้างเกาะ (ที่พึ่ง) แก่ตน ที่ห้วงน้ำ (กิเลส) ไม่สามารถท่วมได้
พระรัตนตรัยเป็นเยี่ยม
บุญอันเลิศ คือ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขและกำลัง ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมอันเลิศ เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ คือเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลอันเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศอันปราศจากราคะ เป็นที่เข้าไปสงบระงับและเป็นสุข เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ เป็นนาบุญชั้นเยี่ยม ให้ทานในท่านผู้เลิศ ผู้มีปัญญาตั้งมั่นแล้วในธรรมอันเลิศ ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมเข้าถึงสถานที่อันเลิศ บันเทิงใจอยู่