มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - สงเคราะห์บุตรให้เข้าถึงธรรม
จงเลือกเอาว่า ต้องการให้ลูกของเราเป็นคนดีในระดับใด เรามีสิทธิ์เลือก จะให้เป็นคนดีแบบทางโลก หรือเป็นคนดีที่แท้จริง ที่สมบูรณ์ทั้งทางโลกและทางธรรมก็แล้วแต่เรา เพราะพ่อแม่คือผู้เปิดโลกให้แก่ลูก แต่ถ้าจะเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีตามแบบอย่างของบัณฑิตทั้งหลาย ต้องแนะนำให้ลูกปฏิบัติธรรม ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ราชฑูตรับใช้ตัวเอง
ตัณหาความทะยานอยาก เป็นสาเหตุของความทุกข์ เมื่ออยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็ต้องแสวงหา และในการแสวงหา กว่าที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ต้องคอยแก้ไขปัญหาสารพัด บางทีจะได้อะไรมาสักอย่างหนึ่ง เลือดตาแทบกระเด็น บางอย่างต้องเอาชีวิตเข้าแลกจึงจะได้มา เหมือนอย่างเรื่องของบุรุษคนหนึ่ง ที่ทั้งน่าทึ่งและน่าประหลาดใจ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๔)
สำหรับเรื่องราวในตอนนี้เป็นเรื่องของเปรตเปลือยกาย ต่อจากตอนที่แล้ว เมื่อพระเจ้าอัมพสักขระทรงถวายผ้าเนื้อดี ๘ คู่ แด่พระอรหันต์ด้วยจิตที่เลื่อมใส ครั้นพระเถระรับผ้าของพระราชาแล้ว ก็อนุโมทนาว่า "ขอทักษิณาทานนี้ จงสำเร็จผลแก่เปรตนั้นตามพระราชประสงค์เถิด"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๔ )
ฝ่ายมหาทุคตะกลับจากวิหารเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น บังเกิดมหาปีติ ขนลุกไปทั่วสรรพางค์ ปลื้มใจว่า ฝนรัตนะ ๗ ประการ ตกเพราะพุทธานุภาพอันไม่มีประมาณ รวมทั้งบุญญานุภาพที่ตัวได้ทำในวันนี้ จากนั้นเขารีบไปยังราชสำนัก พลางกราบทูลพระราชาว่า "บ้านของข้าพระองค์เต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขอพระองค์ทรงให้ราชบุรุษนำเกวียนไปขนทรัพย์นั้นมาเถิด พระเจ้าข้า"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๕ )
พระพี่เลี้ยงได้ยินข่าวลือว่า "พระราชาทรงฟังถ้อยคำของอาชีวกผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงรับสั่งให้รื้อโรงทานที่ประตูเมืองทั้งสี่ บัดนี้ทรงมัวเมาแต่เบญจกามคุณ มิได้สนพระทัยในพระราชกรณียกิจเลย"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - คบบัณฑิตพิชิตปัญหา
ในเวลาเย็น ทั้ง ๔ ท่าน ต่างออกจากที่พักของตน และได้พบกันโดยบังเอิญ ด้วยบุญเก่าที่เคยเกิดเป็นเพื่อนกันมาก่อน ทำให้รู้สึกรักใคร่ชอบใจกันเป็นพิเศษ จึงพูดคุยสนทนากันอย่างถูกคอ ทั้ง ๔ ท่านได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า การสมาทานอุโบสถศีลของพวกเรา ใครจะเป็นผู้มีศีลมากกว่ากัน ต่างฝ่ายต่างก็คิดว่า ตนมีศีลมากกว่าคนอื่น
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ผู้ชี้หนทางสว่าง
เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าพรหมทัต ท่านหลงผิด ไปติดใจในการเสวยเนื้อมนุษย์ จึงทำบาปกรรมจนถูกเนรเทศออกไปจากเมือง พระองค์ได้ไปอาศัยอยู่ใต้ต้นไทรในป่า เปลี่ยนชื่อเป็น โจรโปริสาท คอยดักฆ่าคนที่เดินทางผ่านมา แล้วเอาเนื้อมากิน จนข่าวนี้ลือกันไปทั่วชมพูทวีป
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล - อย่าคบคนพาล
ผู้มีปัญญา ไม่พึงคบคนชั่วเป็นมิตร ไม่พึงคบบุรุษผู้ต่ำทราม พึงคบหากัลยาณมิตร พึงคบบุรุษผู้สูงสุด เราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ต่างปรารถนาความสุขความเจริญ ปรารถนาให้สิ่งที่ดีงามที่เป็นมงคลเกิดขึ้นแก่ชีวิตของตนด้วยกันทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า สิ่งที่เป็นมงคล คือ การบำเพ็ญบุญ อันจะเป็นเครื่องสนับสนุนให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๗ )
พระคุณเจ้าจงบริโภคภัตอันวิเศษนี้เถิด เพราะสุธาโภชน์ที่บริโภคแล้วนั้น ย่อมขจัดบาปธรรมได้ถึง ๑๒ ประการ คือ ความหิว ความกระหาย ความกระสัน ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย ความโกรธ ความเข้าไปผูกโกรธ ความวิวาท ความส่อเสียด ความหนาว ความร้อน และความเกียจคร้าน ภัตนี้มีรสอันเลิศ เป็นสิ่งสมควรแก่ท่านผู้มีคุณธรรมสูงส่ง
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๒ )
บุคคลให้ทานไม่ได้เพราะเหตุผล ๒ ประการ คือ ความ ตระหนี่ และความประมาท บัณฑิตผู้รู้แจ้ง เมื่อต้องการบุญพึงให้ทาน คนตระหนี่กลัวความอดอยากยากจน เพราะความกลัวจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ และจะกลับมามีผลต่อคนพาลผู้หลงผิด ฉะนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน กำจัดความตระหนี่แล้วรีบให้ทาน เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า