ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 155
สุวโปดกจึงชักอุปมาว่า “สาลิกา จ๋า อย่าว่าแต่เธอกับฉันเลย แม้แต่ในหมู่มนุษย์ พระราชามหากษัตริย์ก็ยังอยู่ร่วมกับหญิงจัณฑาลได้เลย เรื่องชาติชั้นวรรณะไม่สลักสำคัญอันใดดอกจ้ะ เธอไม่เคยได้ยินหรือว่า รักแท้ย่อมไม่มีพรมแดน สิ่งใดๆก็มิอาจกั้นขวางความรักได้เลย เพราะรักแท้ขึ้นอยู่กับความปรารถนาในกันและกันต่างหากเล่า”
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - เป็นผู้ประเสริฐด้วยการปฏิบัติ
พระอินทร์ได้ฟังคำอธิบายเช่นนั้น ทรงหายสงสัยในการบำเพ็ญตบะของพระฤๅษี ด้วยตระหนักชัดแล้วว่า ท่านไม่ได้ปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ หรือความเป็นพระราชา มหาเศรษฐีเลย หากท่านมีความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ คือ ปรารถนา อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันประเสริฐ ซึ่งยากที่มนุษย์ธรรมดาจะกล้าคิดกล้าทำ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ชีวิตใหม่ในเพศสมณะ
พระภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนา คือ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทั้งทุกข์ประจำและทุกข์จร ไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นสูง ชั้นกลาง หรือชั้นล่าง ต่างก็มีทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงสละเพศฆราวาส ออกบวชเป็นบรรพชิต ปลงผมและหนวด ละทิ้งเครื่องนุ่งห่มที่มีราคาของคฤหัสถ์
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - สัตว์ร้าย รักษาอุโบสถ
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยว หาอาหาร เห็นช้างตายอยู่ข้างทาง มันดีใจคิดว่า เป็นลาภลอยชิ้นใหญ่ของเราแล้ว จึงตรงเข้าไปกัดที่งวง แต่กัดไม่เข้า จึงเปลี่ยนไปแทะที่งา ก็รู้สึกเหมือนกับแทะแผ่นหิน กัดที่หาง ก็รู้สึกเหมือนกัดสากตำข้าว ครั้นกัดช่องทวารหนักก็รู้สึกว่า ได้กินเนื้อนุ่มๆ จึงเกิดติดใจมุดเข้าไปอยู่ข้างในท้องช้าง แล้วกัดกินเครื่องในอย่างเอร็ดอร่อย
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง - เพียรสู่ความสำเร็จ
ผู้ที่มีความเพียรพยายาม จะทำอะไรย่อมประสบผลสำเร็จ ดังคำกล่าวที่ว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น เช่น บัณฑิตในกาลก่อนอาศัยความเพียรที่ประกอบด้วยปัญญา จนเอาชนะข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่าได้ เรื่องมีอยู่ว่า
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา(สามี) - ถนอมน้ำใจกันไว้
เรื่องความน้อยอกน้อยใจนี้เป็นอันตรายมาก บาง ครั้งการแสดงความหวังดีกับผู้ที่เรารัก กลับไม่ได้รับความเข้าใจเท่าที่ควร เรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายยุคหลายสมัย แม้ในสมัยพุทธกาลก็เคยเกิดขึ้น
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - ศิลปะำในการดำรงชีวิต
ชายหนุ่มผู้มีศรัทธา เขาตั้งใจอุปัฏฐากบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ตลอดครบถ้วนไตรมาส บุญใหญ่ตลอด ๓ เดือนทำให้เขาได้มาบังเกิดเป็นบุตรเศรษฐี มีวรรณะผ่องใส มีฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงามเหมือนสีดอกหงอนไก่ ต่อมาได้ออกบวชประพฤติธรรม ในที่สุดก็บรรลุอรหัตตผลอันเลิศ
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพาพ้นภัย (๒)
เนื่องจากความคุ้นเคยกันมากเกินไป พระเทวีได้ประพฤติ นอกใจพระราชา โดยประพฤติมิจฉาจารกับทาสของตนเอง เมื่อพระนางทำผิดแล้ว เกรงว่าพระสวามีจะจับได้ จึงแนะนำให้ทาสปลงพระชนม์พระราชา
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 17
ฤษิณีผู้เป็นมารดา ได้ยกเท้าทั้งสองขึ้นกอดไว้แนบอก แล้วพร่ำรำพันอยู่ว่า “โธ่ พ่อสามะของแม่ เจ้าต้องมานอนเกลือกเปื้อนฝุ่นทราย ถูกทิ้งไว้ในป่าใหญ่ ดุจดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ตกลงสู่ผืนดินเสียแล้ว โลกนี้ช่างไม่ยุติธรรมเสียเลย...พ่อสามะผู้งดงามของแม่ เจ้ามาหลับใหลเหมือนคนเมาสุราไม่ยอมลุกขึ้นสักที เจ้าขัดเคืองใครหรือจึงไม่ยอมพูดจาอะไรกับแม่บ้างเลย”
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 16
ฝ่ายพระเจ้าปิลยักขราช ได้เห็นภาพของฤษีทั้งสองแล้ว ก็รู้สึกสงสารยิ่งนัก ได้ทรงปลอบใจให้ทั้งสองคลายความโศกว่า “ขอผู้เป็นเจ้าทั้งสอง อย่าได้คร่ำครวญถึงสามะบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยคุณความดี ว่าเขาถูกเราฆ่าตายเสียแล้ว แล้วใครจะเลี้ยงดูพวกเราเลย...แม้จะสิ้นสามะแล้ว ข้าพเจ้านี่แหละจะขอเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองอยู่ในป่าใหญ่นี้เอง