เกสวชาดก ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม
นารทอำมาตย์ได้สอบถามอาการของเกสวดาบส "ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ขนาดพระเจ้าพาราณสีทรงพาแพทย์มาดูแลรักษาท่านถึง ๕ คน ยังไม่สามารถทำให้ท่านหายได้" "เราดื่มยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ราดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น อาหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลที่คุ้นเคยกัน แล้วบริโภคในที่ใดการบริโภคในที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม" เกสวดาบสตอบ
โกสัมพิยชาดก ชาดกว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
“ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วย ทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
กาสาวชาดก ชาดกว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
พญาช้างอยากลงโทษให้พรานชั่วให้ตายตกไปตามชีวิตบริวารของตน แต่เห็นแก่ผ้าเหลืองกาสาวพัสตร์ในพระพุทธศาสนา จึงลงโทษสถานเบาให้เข็ดหลาบ แล้วปล่อยให้พรานออกจากป่าโดยให้พรานตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและตั้งอยู่ในศีลธรรม อันดีตลอดไป
ขุรปุตตชาดก ชาดกว่าด้วยการทำตนให้ไร้ประโยชน์
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าโลมเร้า แล้วทรงซักถามภิกษุนั้น “ จริงหรือภิกษุ ได้ทราบว่าเธอกระสันอยากสึก ” “ จริงพระเจ้าค่ะ ” “ เธอกระสันอยากสึกเพราะเหตุอะไร ” “ เพราะภรรยาเก่าพระเจ้าค่ะ ” “ ดูกรภิกษุหญิงนี้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เธอไม่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนเธอกำลังจะกระโดดเข้าไฟตายเพราะอาศัยหญิงนี้ แต่อาศัยบัณฑิตจึงได้ชีวิตไว้ ”
ตัจฉกสูกรชาดก ชาดกว่าด้วยหมูพร้อมใจกันสู้เสือ
พวกท่านจะกลัวเสือตัวนั้นไปทำไม พวกเราไม่มีเขี้ยวหรือ กำลังกายไม่พรั่งพร้อมหรือ พวกเราทั้งหมดพร้อมใจกันแล้ว ก็จะจับมันตัวเดียวเท่านั้นให้อยู่ในอำนาจได้ พวกท่านดูสิพวกเรามีทั้งหมดกี่ตัว แล้วแค่เสือตัวเดียว เราจะเอาชนะมันไม่ได้รึ ตัจฉกสุกรกระทำพวกหมูทั้งหมดให้มีความสามัคคีเป็นใจเดียวกัน แล้ววางแผนกำจัดศัตรูเจ้าเสือร้าย
สุชาตกุมารชาดก ชาดกว่าด้วยการพรากจากสิ่งที่เป็นทุกข์
สุชาตกุมารเห็นบิดาห่วงใย ให้ข้อคิดอย่างสมคะเน แล้วก็เร่งกล่าวให้สติบิดากลับไปตามอุบาย “ท่านพ่อ วัวตัวนี้หาได้มีชีวิตแล้ว เหมือนท่านปู่ของลูกเช่นกัน แต่ยังมีศีรษะ มีปาก มีร่างกาย หู หาง ครบถ้วนอยู่ ย่อมต้องกินหญ้าที่ลูกนำมาเซ่นได้สิขอรับ ” “มันกินไม่ได้หรอกลูกเอ้ย มันตายไปแล้ว ” “ลูกเข้าใจว่ามันต้องกินหญ้านี้ได้ เพราะขนาดท่านปู่มิได้มีร่างกายเหลืออยู่แล้ว เหลือเพียงเถ้ากระดูกมนสถูป แต่ท่านพ่อยังนำดอกไม้เครื่องหอมต่าง ๆ แล้วก็อาหารคาวหวานไปร้องบอกท่านปู่ให้กินอยู่เลยขอรับ ”
กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา
“ หม้อใบนี้เป็นหม้อที่มีโทษมาก ผู้ใดดื่มน้ำในหม้อนี้จะเสียผู้เสียคน ควบคุมสติไม่ได้ ทั้งแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม บ้างก็เหมือนคนบ้า บ้างก็ด่าทอทะเลาะวิวาท ด่าบิดามารดา ฆ่าสมณะชีพราหมณ์ได้ น้ำในหม้อใบนี้เป็นน้ำสุรา หากประสงค์จะเห็นความพินาศของตนและบ้านเมือง ก็จงซื้อไปดื่มเถิด ”
กายนิพพินทชาดก ชาดกว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย
รุ่งเข้าวันหนึ่ง ชายป่วยได้ตื่นเช้ากว่าปกติ เขาหันหน้าออกไปทางหน้าต่างเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ เขามองออกไปดูวิถีชีวิตของชาวบ้าน พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นพระภิกษุสงฆ์ออกมาบิณฑบาต แล้วเขาก็เกิดความคิดอย่างหนึ่ง “ จริงสินะ ชีวิตมันไม่เที่ยงจริง ๆ สังขารย่อมร่วงโรยเป็นธรรมดา ถ้าเราหายจากโรคนี้เราจะบวช ”
สสปัณฑิตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน
“ มิจำเป็นที่ผู้อื่นจะต้องล่วงรู้หรอกท่านพญากระต่าย คุณความดีในการเสียสละชีวิตเพื่อให้ทานของท่านในครั้งนี้จะคงอยู่ปรากฎตลอดไป ” ทันทีที่กล่าวจบท้าวสักกะในร่างของพราหมณ์ ก็ทำการเขียนรูปของพญากระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเสียสละครั้งนี้ให้อยู่สืบไป
ผลชาดก ชาดกว่าด้วยความสามารถในการดูผลไม้
ณ นครสาวัตถี นอกฤดูพรรษาหนึ่งก่อนที่เหล่าภิกษุสงฆ์จะออกจาริกไปเผยแผ่พระพุทธธรรมตามนิคมแว่นแคว้นต่าง ๆ ชาวพระนครก็มักกราบอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จรับภัตตาหารที่บ้านเรือนตนอยู่มิได้ขาด ครั้งหนึ่งทรงรับนิมนต์คหบดีเจ้าของสวนผลไม้ จึงเสด็จนำหมู่ภิกษุสงฆ์ไปตามการอาราธนานั้น ชาวสวนผลไม้จัดพระพุทธอาสนะให้พระพุทธองค์ประทับภายในเคหสถานของตนพร้อมกับพระเถระผู้ใหญ่
สาลิยชาดก ชาดกว่าด้วยหมอผู้โชคร้าย
หมอพิการคนหนึ่ง ได้วางแผนให้เด็กน้อยลูกพ่อค้าปีนต้นไม้ไปเอาลูกนกสาลิกาในโพรงไม้ ซึ่งความจริงแล้วมีงูอยู่ในโพรงไม้นั้น เด็กน้อยหลงเชื่อปีนขึ้นไป เด็กน้อยจับหัวงูได้ก็เหวี่ยงทิ้งทันที ด้วยบุพกรรมที่ทำร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน เด็กน้อยลูกพ่อค้าเหวี่ยงงูเห่ามาทางหมอพิการพอดี งูพิษพันคอหมอพิการ แล้วฝังคมเขี้ยวฉีดพิษร้าย หมอพิการดิ้นทุรนทุรายอย่างทรมาน มิสามารถเยี่ยวยาได้ทัน
โกกาลิกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด
พระอัครสาวกและพระโกกาลิกะพร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป ติดตามไปเยี่ยมชาวบ้านในหมู่บ้าน พวกอุบาสกเหล่านั้นพากันต้อนรับด้วยเภสัชและเครื่องนุ่งห่มแต่ก็ไม่ได้ถวายแก่พระโกกาลิกะอีก จึงทำให้ท่านถึงกับทนไม่ไหว ด่าตัดพ้อพระเถระทันที “ พวกท่านนี่ เป็นตัวขัดลาภข้าจริง ๆ ทำไมชาวบ้านถวายสิ่งของแก่พวกท่านกลับไม่ถวายเจ้าอาวาสอย่างข้า ”
สัตตปัตตชาดก ชาดกว่าด้วยความสำคัญผิด
ข้อวินัยให้สงฆ์สาวกปฏิบัติแต่ละบทนั้น มักเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องไม่เหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป พุทธกาลครั้งหนึ่งก็เป็นดังนั้น พุทธวินัยครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระฉัพพัคคีย์ 2 รูปล่วงพระวินัยข้อยึดถือในทรัพย์ มิได้ปล่อยวาง ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับกิเลส ภิกษุผู้ก่อเหตุที่ว่านี้ชื่อ พระปัณฑกะ และพระโลหิถกะ
กฏาหกชาดก ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่
ในกาลนั้น ยังมีภิกษุรูปหนึ่งถึงพร้อมด้วยความฉลาดเฉลียว แต่กลับมีนิสัยขี้โอ่ เที่ยวอวดตนข่มท่านไปทั่ว จนเป็นที่เอือมระอาต่อเหล่าภิกษุด้วยกัน “นอกจากพระศาสดาแล้ว ในพระเชตวันแห่งนี้ ก็จะหาใครที่ฉลากว่าข้าไม่มีอีกแล้ว ฮ่าๆๆ ข้าภูมิใจตัวเองจริงๆ ฮ่าๆๆ ” “ ดูสิท่าน ภิกษุขี้โอ่รูปนั้น เดินมาทางนี้แล้ว ” “ กระผมว่าเราไปที่อื่นกันดีกว่านะท่าน ”
ปัณณิกชาดก ชาดกว่าด้วยที่พึงให้โทษ
ครั้งนั้นในนครพาราณสีมีพ่อค้าผักคนหนึ่งใคร่จะทดสอบกุมาริกาธรรมในบุตรีก่อนจะส่งตัวไปสู่ตระกูลสามี จึงชักชวนบุตรีเข้าไปเก็บผักในป่า “ ลูกพ่อบัดนี้เจ้าเติบโตเป็นสาวงาม จนพ่อไม่อาจหักห้ามราคะในใจได้ มาเถอะขอให้พ่อได้สัมผัสกายของเจ้าสักหน่อยเถอะนะ ” “ พ่อจ๋า พ่อที่ประเสริฐของฉัน ทำไมพ่อทำอย่างนี้ละ พ่อปล่อยมือลูกเถิดนะจ๊ะ
บุปผรัตตชาดก ชาดกว่าด้วยเป็นทุกข์เพราะภรรยาไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ
เมื่อทหารพาตัวชายผู้เป็นสามีมาถึงที่ ก็พาเขาไปเสียบที่หลาว เขาได้รับเวทนาแสนสาหัส ฝูงกาพากันไปเกาะที่ศีรษะ จิกนัยน์ตาด้วยจะงอยปากอันคมเหมือนปลายคีม ชายผู้นี้ไม่ได้ใส่ใจทุกขเวทนาที่ได้รับแม้แต่น้อย เขายังคงเฝ้าคิดถึงแต่หญิงอันเป็นที่รักเท่านั้น
มหธัมมปาลชาดก ชาดกว่าด้วยตระกูลที่ไม่ตายวัยหนุ่ม
“ มหาบพิตรในบัดนี้พระองค์จะทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในครั้งก่อน ครั้งหม่อมฉันเกิดเป็นมหธัมมปาลกุมาร เมื่ออาจารย์ทิศาปาโกเอากระดูกแพะมาแสดง บอกว่าบุตรของท่านตายเสียแล้ว นี่กระดูกบุตรของท่าน พระองค์ก็มิได้ทรงเชื่อ กล่าวกับอาจารย์ว่า ในตระกูลของเรานี้จักตายตอนกำลังหนุ่มนั้นเป็นไม่มี ก็เหตุไรในบัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อเล่า ”
จุลลโพธิชาดก ชาดกว่าด้วยความโกรธ
ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าความโกรธ เธอควรจะห้ามเสีย อันความโกรธเห็นปานนี้ ที่จะทำประโยชน์ให้ในโลกนี้และโลกหน้าเป็นไม่มี เธอบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าที่ไม่โกรธแล้ว เหตุไรจึงยังโกรธเล่า
ฉวชาดก ชาดกว่าด้วยการนั่งที่ไม่สมควร
ครั้งหนึ่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั้นได้รับกิจนิมนต์จากชาวบ้าน ครั้นเมื่อไปถึงเรือนของผู้นิมนต์แล้วก็นั่งอยู่ในที่ต่ำแสดงธรรมแก่ฆราวาสซึ่งนั่งอยู่ในที่สูงกว่า ด้วยเห็นว่าพวกตนได้รับการดูแลอย่างดีจากเจ้าของบ้าน ภิกษุรูปหนึ่งเห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้น จึงนำความไปกราบทูลพระพุทธองค์ทรงทราบ
ปัญจภีรุกชาดก ชาดกว่าด้วยความสวัสดี
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระสูตรว่าด้วยการประเล้าประโลมของมารธิดา ณ อัชปาลนิโคตธ