พุทธานุภาพไม่มีประมาณ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปราชญ์ ขวนขวายในฌาน ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบระงับ ด้วยสามารถแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ แม้เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ก็ย่อมรักใคร่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีสติเหล่านั้น
มหาสมัยสูตรครั้งที่ 1 (ตอนพรหมและเทวาโกลาหล)
พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงในเวลากลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงในเวลากลางคืน กษัตริย์เมื่อทรงเครื่องรบแล้วย่อมรุ่งเรือง พราหมณ์ผู้มีความเพ่งเพียร ย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดชตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืนทั้งหมด
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 4 โชติบาลกุมาร)
ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก ความชั่ว คนชั่วทำง่าย ความชั่ว อริยบุคคลทำได้ยาก
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 3 สนังกุมารพรหม)
ชาวโลกนี้ เป็นผู้มืดบอด มีน้อยคนที่เห็นแจ้งในโลกนี้ น้อยคนเหลือเกินที่จะไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เหมือนนกน้อยตัวที่รอดพ้นจากตาข่ายมีน้อยเหลือเกินฉะนั้น
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 5 พบมหาพรหม)
บุคคลใด ละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ยิ่งให้ยิ่งได้เพิ่ม
สิริ คือ ที่มานอนแห่งโภคทรัพย์สมบัติ ใครมีสิริอยู่ในตัว ย่อมจะเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์สมบัติทุกอย่าง เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ดึงดูดตาดึงดูดใจของผู้ได้พบเห็น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเกิดจากการประกอบเหตุไว้ดี คือ เป็นผู้ที่สั่งสมบุญกุศลไว้มาก เป็นผู้ที่รักในการฝึกฝนอบรมตนเองอยู่เป็นนิตย์ ด้วยการหมั่นรักษาศีล ชำระกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ราชฑูตรับใช้ตัวเอง
ตัณหาความทะยานอยาก เป็นสาเหตุของความทุกข์ เมื่ออยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็ต้องแสวงหา และในการแสวงหา กว่าที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ต้องคอยแก้ไขปัญหาสารพัด บางทีจะได้อะไรมาสักอย่างหนึ่ง เลือดตาแทบกระเด็น บางอย่างต้องเอาชีวิตเข้าแลกจึงจะได้มา เหมือนอย่างเรื่องของบุรุษคนหนึ่ง ที่ทั้งน่าทึ่งและน่าประหลาดใจ
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ทําอย่างไรก็ได้อย่างนั้น
การสร้างบุญในแต่ละครั้งของชีวิต เป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้ แต่บางครั้งบางเวลาอาจจะเกิดความรู้สึกว่า ทำไมหนอ ความดีที่เราสั่งสมมามากมาย ยังไม่ให้ผลสักที เรารอคอยมายาวนานแล้ว หรือว่าคงทำดีแล้วไม่ ได้ดี เนื่องจากเราเกิดความรู้สึกว่า รอไม่ไหว
มิตตวินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษผู้ลุอำนาจความปรารถนา
ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระพุทธศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาข้อตัณหาอันเป็นสิ่งกว้างขวางไร้ขอบเขตจำกัด ณ พระเชตะวันมหาวิหารในนครหลวงแห่งมคธรัฐ พุทธวัจนในพระธรรมบทนี้ได้รับการจดจำต่อๆ กันว่าชนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้นก็เช่นผู้ถูกจักรกรดไว้
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง - ผู้ไม่เกียจคร้าน
ในสังคมของชาวโลกนั้น ความสำเร็จของงานเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนต่างปรารถนา งานทุกอย่างจะสำเร็จได้เป็นอย่างดี จะต้องอาศัยธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ซึ่งธรรมบทนั้นได้แก่ อิทธิบาท ๔ คือ มีความรักในงานที่จะทำ เห็นความสำคัญของงานนั้น และใช้ความเพียรพยายาม มุมานะ อีกทั้งมีความเอาใจใส่ พิจารณาตรวจตรางานอยู่เสมอและหมั่นปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้แล้ว ย่อมบรรลุผลที่ตั้งใจอย่างแน่นอน