ทำไมตายแล้วไปเป็นเปรต
เปตติวิสยภูมินั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบไว้ว่า เหมือนกับต้นไม้ในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่ โปร่งเบา มีร่มเงาอันโปร่ง เป็นสถานที่ที่ไม่น่ารื่นรมย์ เพราะแห้งแล้งเต็มไปด้วยความทรมาน เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งประพฤติอกุศลกรรมนำชีวิตของตนไปในทางอกุศลกรรม ผู้นั้นชื่อว่านำตนไปสู่ปฏิปทาทางไปสู่ต้นไม้อันหาความสุขสบายมิได้ คือ เปตติวิสยภูมินั้นอย่างแน่นอน
บุพกรรมใดที่ทำให้ต้องมาเป็นคนรับใช้
บุพกรรมใดที่ทำให้ลูกต้องมาทำงานเป็นคนรับใช้ และลูกจะแก้ไขวิบากกรรมนี้อย่างไรคะ
ชัยชนะครั้งที่ 7 (ตอนที่ 1 ชนะนันโทปนันทนาคราช)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจอมมุนี ทรงโปรดให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส ไปปราบนันโทปนันทนาคราช ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีให้แสดงฤทธิ์ ทรมานให้สิ้นฤทธิ์ ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงเกิดมีแก่ท่าน
ชัยชนะครั้งที่ 7 (ตอนที่ 2 ชนะนันโทปนันทนาคราช)
ภูเขาเวปุลละสูงตระหง่านเป็นเยี่ยมกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในกรุงราชคฤห์ เสตบรรพตเป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่าหิมวันต์ ดวงสุริยาเป็นเลิศกว่าบรรดาสิ่งที่ไปในอากาศ มหาสมุทรเป็นเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลาย ดวงจันทราเป็นเลิศกว่าดาราทั้งหมด ส่วนพระพุทธเจ้าเป็นเลิศกว่าประชุมชนทั้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
ชัยชนะครั้งที่ 6 (ตอนที่ 2 ชนะสัจจกนิครนถ์)
บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้เป็นสิ่งที่ประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชาเป็นเลิศ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า พระสงฆ์เป็นผู้ประเสริฐสุด บรรดาชนผู้แถลงคารม พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุด
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ความสุขในพระรัตนตรัย
หลังจากที่ท่านปลงผมเสร็จ กำลังจะผลัดผ้าสาฎกออก เพื่อเปลี่ยนมานุ่งห่มชุดของนักบวช ในจังหวะนั้นท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในทันที เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องปฏิสัมภิทาญาณ ต่อมาพระบรมศาสดาทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณสี่
ทศพิธราชธรรม
ธรรมของนักปกครองหรือผู้นำในทุกยุคทุกสมัย เหมาะสำหรับการปกครองทั้งทางโลกและทางธรรม ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานไว้เป็นแนวทางในการปกครองหมู่คณะ ให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุกทั้งผู้นำและผู้ตาม
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - คุณสมบัติของคนดี
แม้จะได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติเชนนั้น พระสารีบุตร ก็ไม่เคยลืมบุญคุณของพระอัสสชิซึ่งเป็นครูบาอาจารย์องค์แรก เวลาก่อนจำวัด ไม่ว่าจะเดินทางไปพักอยู่ที่ใดก็ตาม ท่านจะตามระลึกถึงพระอัสสชิเถระผู้เป็นอาจารย์เสียก่อน เมื่อทราบว่าพระอาจารย์พำนักอยู่ทางทิศใด จะจำวัดหันศีรษะไปทางทิศนั้น เป็นการแสดงความเคารพต่ออาจารย์
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - เครื่องหมายของคนดี
เมื่อน้องชายได้ฟังดังนั้น ก็สำนึกผิดในความดื้อรั้นของตน ไม่สามารถจะอยู่ในที่นั้นได้ จึงหลีกเร้นไปอยู่คนเดียว ปรารภความเพียรอยู่ในป่าลึก จนสามารถทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดขึ้นได้ แล้วคิดว่า จะนำพระราชาทั่วทั้งชมพูทวีปมาขอขมาพี่ชาย เพื่อจะได้มีโอกาสมาปรนนิบัติดูแลบิดามารดาอีก
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - หนทางสู่ความรุ่งโรจน์
ความเคารพกับความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความแตกต่างกัน ความเคารพเป็นการปรารภผู้อื่น ตระหนักในคุณงามความดีของผู้อื่น พบใครก็คอยมองหาข้อดีของเขา ไม่ไปจับผิด สามารถ ประเมินคุณค่าของผู้อื่นได้ตามความเป็นจริง และแสดงอาการเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ส่วนความอ่อนน้อมถ่อมตน