อันตชาดก ชาดกว่าด้วยที่สุด ๓ ประเภท
อีกาตัวหนึ่งเห็นสุนัขจิ้งจอกกำลังกินซากโคอย่างเอร็ดอร่อย มันจึงแกล้งพูดยกย่องเจ้าจิ้งจอกเพื่อจะได้กินซากโคนั้นบ้าง “ ท่านพญาจิ้งจอกผู้มีร่างกายล่ำสัน องอาจดั่งพญาราชสีห์ ข้าขอนอบน้อมแด่ท่าน ขอให้ข้าได้กินเนื้อนั่นบ้างเถิด ” ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกเมื่อได้ยินกากล่าวยกย่องตนดังนั้นก็ชื่นใจ แล้วจึงกล่าวตอบด้วยการยกย่องกาเช่นกัน “ กุลบุตรย่อมสรรเสริญกุลบุตรด้วยกัน ท่านกาผู้มีสร้อยคองามเด่น ดั่งเช่นนกยูง เชิญท่านลงมาจากต้นละหุ่ง มากินเนื้อให้สบายใจเถิด ”
ลฏุกิกชาดก ชาดกว่าด้วยนางนกไส้ ตอนที่ 1
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากับพระเทวทัตนี้ ผูกเวรกันมาตั้งแต่อดีตชาติ แม้ในกาลก่อน เค้าก็มีพื้นฐานจิตใจโหดร้าย ไม่มีความเมตตาปราณี ผูกใจอาฆาตมาดร้ายมาจนถึงชาตินี้ เดี๋ยวเราจะเล่าให้พวกเธอทั้งหลายฟัง จะได้เข้าใจแล้วนำโอวาทเรานี้ไปน้อมนำจิตใจต่อไป”
ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
มีนกจำนวนมากอาศัยอยู่บนต้นไม้ใหญ่ริมสระน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งในสระมีพญานาคที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ฝูงนกจำนวนมากได้ขับถ่ายลงไปในสระน้ำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของความหายนะที่ได้เกิดขึ้นกับฝูงนกเหล่านั้น
มโนชชาดก-ชาดกว่าด้วยคบคนชั่วไม่ได้ความสุขที่ยั่งยืน
สมัยนั้นมีสหายสองคนผู้เป็นชาวเมืองราชคฤห์ ในสองสหายนั้น คนหนึ่งบวชในสำนักของพระศาสดาอีกคนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมได้พบเห็นกันและกันอยู่เสมอ แม้ไปวิหารก็ยังได้พบเห็นกัน ภิกษุที่ออกบวชในสำนักพระศาสดาต้องปฏิบัติกิจสงฆ์ออกบิณฑบาต ปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิจ ส่วนภิกษุที่บวชในสำนักของพระเทวทัตนั้นไม่ต้องออกไปบิณฑบาต เพราะจะมีคนจัดสำรับไว้ให้ในโรงฉันเรียบร้อย
กัจฉปชาดก ชาดกว่าด้วยลิงสัปดน
เป็นเรื่องของลิงทุศีลซุกซนตัวหนึ่ง ที่ชอบกลั่นแกล้งผู้อื่น วันหนึ่งมันได้แกล้งเจ้าเต่า โดยได้สอดองคชาตเข้าในปากของเต่าซึ่งหลับอยู่ ลำดับนั้น เต่าตื่นขึ้นจึงงับองคชาตของลิงนั้นไว้ เหมือนกับใส่ไว้ในสมุคฉะนั้น เวทนาอย่างแรงเกิดขึ้นแก่ลิงนั้น มันไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาได้
อินทสมานโคตตชาดก ชาดกว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ
อินทสมานโคตรเป็นนักบวชผู้ว่ายาก สอนยาก มีนิสัยดื้อรันไม่ยอมฟังใคร เขาได้พบเจอลูกช้างในป่า ซึ่งแม่ของมันตาย และเขาได้เก็บลูกช้างนั้นมาเลี้ยง โดยไม่ฟังคำทัดทานห้ามปรามของใครเลยแม้แต่อาจารย์ของเขาเอง ถึงภัยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเขา สืบเนื่องมาจากลูกช้างป่าที่เขาได้นำมันมาเลี้ยง
อนภิรติชาดก ชาดกว่าด้วยจิตขุ่นมัว ไม่ขุ่นมัว
ความสำเร็จในมรรคผล การบรรลุญาณสมาบัติของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนั้น เกี่ยวข้องด้วยความสมถะสันโดษหลุดพ้นจากกิเลสอันอยากได้อยากมีเป็นอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติภาวนา แม้สำเร็จญาณระดับใดแล้วก็ตาม แต่หากรับเอาอาสวะกิเลสเข้าจิตใจ แม้น้อยนิด ญาณวิเศษที่พากเพียรมา ก็จักเสื่อมลงถดถอยลงสิ้น
มสกชาดก ชาดกว่าด้วยมีศัตรูผู้มีปัญญาดีกว่ามีมิตรโง่
อันชื่อว่ามนุษย์ย่อมมีทั้งดีและร้าย เมื่อมีคนที่ทำกรรมดีก็มีคนที่ทำกรรมชั่วเช่นกัน ครั้งหนึ่งเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวมคธได้เกิดเรื่อพิสดารขึ้น
สมิทธิชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รู้เวลาตาย
ท่านภิกษุท่านยังเด็กเยาว์วัยหนุ่มแน่น มีผมดำ ประกอบด้วยความหนุ่ม ทั้งยังเจริญ มีรูปงามน่าดู น่าเลื่อมใส ท่านเป็นเช่นนี้ ไม่บริโภคกาม ประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา จงบริโคกามเสียก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยบวชบำเพ็ญสมณะธรรม ” “ แน่ะ เทพธิดา เราไม่รู้ความตายของเราว่า เราจักตายเมื่ออยู่ในวันโน้น เรากำหนดเวลาไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจักบำเพ็ญสมณะธรรม ในตอนยังเป็นหนุ่ม แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ” “ ถ้าอย่างนั้น ก็แล้วแต่ท่านเถิด ข้าขอลาก่อน ”
ฉัททันตชาดก ชาดกว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์
“ พรานเอ๋ย นางผู้นั้น ละวางพยาบาทได้ก็ด้วยชีวิตเรา จงเลื่อยเอางาของเราไปเถิด ” การสิ้นกรรมในชาติภพนั้น พญาฉัททันต์ทนเจ็บปวดเป็นที่เวทนาการ จนเมื่อพรานนำงาคู่ไปถึงกาสิกกรัฐ แล้วพญาช้างก็ขาดใจตาย