รองรับพระธรรม น้อมนำถวาย
พระไตรปิฎกบาลีหรือพระบาลีเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยุคแรกคำสอนของพระองค์เรียกโดยรวมว่าพระธรรมวินัย ต่อมาในภายหลังจึงแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ หมวด คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
วิธีตอบคำถามของพระพุทธเจ้า
วิธีตอบคำถามของพระพุทธเจ้า สงสัยย่อมมีแก่ปุถุชนเป็นปกติแต่คนถามไม่ได้ถามเพราะสงสัยเพียงอย่างเดียว มีเหตุผลในการถามหลากหลาย
ธัมมัสสวนมัย ฟังธรรมเป็นนิจจิตแจ่มใส
การฟังธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกชีวิตยิ่งกว่าความรู้ทางโลกที่ร่ำเรียนมา เพราะจะทำให้เกิดดวงปัญญาสว่างไสว สามารถพิจารณาเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ทำให้มีชีวิตอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ปลอดภัยจากอบายภูมิ
ปราศจากวิญญาณ
วิญญาณ ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หมายถึง วิญญาณล่องลอยที่เป็นผี แต่หมายถึงสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ คือ เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการรู้ เรียกว่าวิญญาณ คือ จิต ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงวิญญาณก็คือสภาพธรรมที่เป็นจิต วิญญาณหรือ จิตจึงมีหลายประเภทเช่น จักขุวิญญาณ หรือ จิตเห็น โสตวิญญาณ หรือ จิตได้ยิน ดังนั้นเมื่อวิญญาณหรือจิตเกิดขึ้น เป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เช่น จิตเห็น(จักขุ วิญญาณจิต) เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นคือ สี เป็นต้น
"ธัมมัสสวนมัย" ฟังธรรมเป็นนิจจิตแจ่มใส
“กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การฟังธรรมตามกาลเป็นมงคลอย่างยิ่ง”
มิจฉาสมาธิ
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - นางยักษิณี ผู้ใคร่ในธรรม
นางยักษิณีตนหนึ่ง ได้อุ้มอุตราผู้เป็นธิดา และจูงปุนัพพสุผู้เป็นลูกชายแสวงหาอาหารริมกำแพง และริมคูคลองหลังวัดพระเชตวัน เมื่อไปถึงซุ้มประตู นางก็เห็นพุทธบริษัทสงบนิ่งไม่ไหวติง ฟังธรรมด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า เหมือนเปลวประทีปตั้งไว้ในที่ที่ไม่มีลม จึงเกิดความเลื่อมใสแล้วคิดว่า ก็ในที่นี้คงจะมีของแจกให้เรากิน เพื่อประทังชีวิตได้แน่
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - การตั้งตนไว้ชอบ
พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ภารทวาชะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์ เขาไม่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย หากใครกล่าวเพียงแค่ว่า "พุทโธ ธัมโม สังโฆ" เขาจะรีบปิดหู จิตใจของเขานั้นแข็งกระด้างเช่นกับตอตะเคียน แต่พราหมณีผู้เป็นภริยาชื่อ ธนัญชานี ได้บรรลุเป็นโสดาบัน มีศรัทธาเลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เมื่อสองสามีภรรยาศรัทธาต่างกันเช่นนี้จะเป็นอย่างไร
พรหมปุโรหิตาภูมิ
ดูก่อนเกวัฏฏะ อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งบัลลังก์เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้
ธรรมกายคือหลักของชีวิต
เมื่อใดบัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นเขาย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด