สามเณรปิโลติกะ อดีตเด็กขอทาน
ในสมัยพุทธกาลมีเด็กขอทานคนหนึ่งชื่อว่า ปิโลติกะ นุ่งผ้าเก่าๆขาดวิ่น ถือชามกระเบื้องเดินขอทานอยู่ไปมา พระอานนท์เห็นเข้าจึงเกิดความเมตตาชวนให้เด็กขอทานได้บวชในพระพุทธศาสนา สามเณรจึงได้บวชกับพระอานนท์นับแต่บัดนั้น
สามเณรสานุ ผู้ถูกยักษิณีเข้าสิง
สานุสามเณร แม้จะยังเยาว์ก็สามารถแสดงธรรมเทศนาได้แกล้วกล้าและไพเราะเกินตัว เทศนาทุกครั้งจะมี เทวดา ยักษ์ และอมนุษย์มาฟังด้วยเสมอ ท่านจึงเป็นที่เคารพของอมนุษย์และเทวดาจำนวนมาก ได้มียักษิณี (คือยักษ์ผู้หญิง) ตนหนึ่งซึ่งเคยเป็นมารดาในอดีตชาติของสามเณรมาฟังธรรมเทศนาของสามเณรอยู่เป็นประจำ
สามเณรนิโครธ ผู้จุดให้พระเจ้าอโศกมหาราชหันมานับถือและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ประมาณ ๓๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งนามว่า สามเณรนิโครธ อายุเพียง ๗ ขวบ ได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์สามเณรน้อยมีผิวพรรณผ่องใสและเป็นผู้ที่ฝึกตนเป็นอย่างดีจึงมีบุคลิกที่สงบเสงี่ยมสง่างามน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทำให้พระราชาคือ พระเจ้าอโศกมหาราชเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในทันทีที่เห็นสามเณรเดินผ่าน
จุนทะสามเณร ผู้มีส่วนริเริ่มสังคายนา
จุนทะเป็นน้องชาย ๑ใน ๗ ของพระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ออกบวชเป็นสามเณรในสำนักพระสารีบุตร ผู้เป็นพี่ชายโดยมีพระอานนท์เป็นพระอุปัชณาย์ (พระผู้บวชให้) เมื่อบวชแล้วก็บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ตอนอายุ ๗ ขวบพร้อมคุณวิเศษ มักอาสาแสดงปาฏิหาริย์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กุมารกัสสปสามเณร ผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ
กุมารกัสสปะ เป็นชื่อที่พระเจ้าปเสนทิโกศลที่ทรงรับอุปการะเลี้ยงดูตั้งให้ เพราะมารดาของท่านได้มีศรัทธาออกบวชหลังจากแต่งงานแล้ว และไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์(ท้อง) ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตัดสินเรื่องนี้ว่าไม่ผิดศีลเพราะได้ตั้งครรภ์ก่อนบวช
อานิสงส์ถวายสังฆทาน
ด้วยกรรมที่ทำสังฆทานไว้ดีแล้ว และด้วยการตั้งเจตจำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ เพราะกรรม คือการถวายสังฆทานนั้นนำไป เราจึงมีความสุขในที่ทุกสถาน
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๒)
ท่านพระทัพพมัลลบุตร ถึงแม้ว่าจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เสร็จกิจของการประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ท่านยังมีความเสียสละ รับเป็นธุระในกิจการงาน ของสงฆ์ เป็นการกระทำที่น่ายกย่อง และเป็นแบบอย่างในการสร้างบารมี