ทำไมตายแล้วไปเป็นเปรต
เปตติวิสยภูมินั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบไว้ว่า เหมือนกับต้นไม้ในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่ โปร่งเบา มีร่มเงาอันโปร่ง เป็นสถานที่ที่ไม่น่ารื่นรมย์ เพราะแห้งแล้งเต็มไปด้วยความทรมาน เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งประพฤติอกุศลกรรมนำชีวิตของตนไปในทางอกุศลกรรม ผู้นั้นชื่อว่านำตนไปสู่ปฏิปทาทางไปสู่ต้นไม้อันหาความสุขสบายมิได้ คือ เปตติวิสยภูมินั้นอย่างแน่นอน
เปรตที่รับส่วนบุญได้และไม่ได้
เปรตบางชนิดที่สามารถรับส่วนกุศลได้ ในบรรดาเปรตทั้งหลายที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งสิ้น มี 12 จำพวกบ้าง 4 จำพวกบ้าง 21 จำพวกบ้าง ในจำนวนเปรตทั้งหมดนี้ เปรตที่มีโอกาสจะได้รับส่วนบุญจากญาติอุทิศให้ คือ เปรตจำพวกปรทัตตูปชีวิกเปรต และเป็นเปรตจำพวกเดียวที่รับส่วนบุญได้เท่านั้น ส่วนเปรตอื่นๆ นอกจากนี้ ไม่สามารถจะรับส่วนบุญที่ญาติอุทิศไปให้ได้ เพราะเหตุว่าเปรตเหล่านี้อยู่ห่างไกลจากหมู่มนุษย์ แต่สำหรับปรทัตตูปชีวิกเปรตนั้น เป็นเปรตที่เกิดอยู่ในบริเวณบ้าน เช่น บุคคลบางคนถูกฆ่าตายโดยปัจจุบัน หรือผู้ที่ตายตามธรรมดาก็ตาม แต่มีความห่วงใยอาลัย ก็เกิดเป็นเปรตอยู่ในบริเวณบ้านนั้นเอง
ทำกรรมอะไรตายแล้วไปเป็นเปรต
เปรตบางจำพวกอาศัยปะปนอยู่กับภพมนุษย์ แต่เป็นภพที่ละเอียดกว่า ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็น แต่ไม่ได้หมายความว่าเปรตนั้นไม่มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสยืนยันเรื่องเปรตนี้ว่ามีจริง และทรงรู้ถึงการกระทำที่จะนำไปเป็นเปรต ดังมีกล่าวไว้ใน มหาสีหนาทสูตร
ผลการปฏิบัติธรรม พระธรรมทายาทชาวญี่ปุ่น
โครงการอบรมพระธรรมทายาทชาวญี่ปุ่น รุ่นที่ 2
มหาปูชนียาจารย์ (2)
ภิกษุใด ยังหนุ่มยังแน่น พากเพียรอยู่ในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ที่พ้นแล้วจากเมฆหมอก สว่างอยู่ ฉะนั้น
เส้นทางสู่ความเป็นพุทธะ_2
ธรรมดาว่าท่านผู้ ประเสริฐ เมื่อจะอุบัติในโลกนี้ ท่านจะอุบัติเฉพาะในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น คือถือกำเนิดในมนุษย์และเทวดา เมื่อเสด็จอุบัติในหมู่มนุษย์ ย่อมเป็นผู้สามารถเพื่อทำ ๓,๐๐๐โลกธาตุ และหลายพันโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้ เมื่ออุบัติในหมู่เทวดา ย่อมอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ทำหมื่นโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ทำอย่างไรถึงมีความสุข
วิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ทุกข์ทั้งหลายมากล้ำกรายเราไม่ได้ คือ การปฏิบัติตามหลักธรรมที่พระบรมศาสดาทรงประทานไว้แก่พระอรหันตสาวก ๑,๒๕๐ องค์ในวันมาฆบูชาว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง เพราะผลของบาปคือความทุกข์ ตั้งแต่งดเว้นจากกรรมกิเลส ๔ ประการ คือ
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เลิกตระหนี่ตลอดไป (๑)
บุญเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต ถ้ามีบุญน้อย อุปสรรคก็มาก ถ้ามีบุญมาก อุปสรรคก็น้อย บุญเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตของพวกเราที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด สร้างบารมีเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือ ที่สุดแห่งทุกข์ ที่สุดแห่งธรรม
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ถวายทานนำมาซึ่งความสุข
อานุภาพแห่งบุญนี้ ไม่มีประมาณจริงหนอ ตัวเราได้สำเร็จทุกอย่างดังใจปรารถนาเพราะอานุภาพแห่งบุญที่เราได้ ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ด้วยจิตที่เต็มเปี่ยม ด้วยความเลื่อมใส นิมนต์ภิกษุสงฆ์มาแล้ว ทำมณฑปด้วยอ้อย นิมนต์พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติซื่อตรง มีจิตตั้งมั่นเป็นสงฆ์ผู้อุดม ให้ฉันอ้อย ด้วยอานิสงส์นี้ ทำให้เราครอบงำสัตว์ทั้งปวงในภพที่เราถือกำเนิด
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพาพ้นภัย (๒)
เนื่องจากความคุ้นเคยกันมากเกินไป พระเทวีได้ประพฤติ นอกใจพระราชา โดยประพฤติมิจฉาจารกับทาสของตนเอง เมื่อพระนางทำผิดแล้ว เกรงว่าพระสวามีจะจับได้ จึงแนะนำให้ทาสปลงพระชนม์พระราชา