วาจาสุภาษิต
วาจาสุภาษิต หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้วด้วยใจที่ผ่องใส มิใช่สักแต่พูด อวัยวะในร่างกายของคนเรานี้ก็แปลก
ธรรมะกับพระบาลีใจเป็นผู้นำ
ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง ใจเป็นใหญ่กว่าสรรพสิ่ง สรรพสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าพูดหรือทำสิ่งใดด้วยใจบริสุทธิ์ ความสุขย่อมติดตามเขา เหมือนเงาติดตามตน
ธรรมะกับพระบาลีมฤตยูฉุดคร่าคนผู้มัวเก็บดอกไม้ (กามคุณ)
กามคุณ ในพระพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี 5 ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ 5 นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" แปลว่า อารมณ์คือกามคุณ
ธรรมะกับพระบาลีเมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกสลายง่าย และว่างเปล่า
เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกสลายง่าย และว่างเปล่าเช่นเดียวกับฟองน้ำ และพยับแดดก็ควรทำลายบุษปศรของกามเทพไปให้พ้นทัศนวิสัยของมัจจุราชเสีย
ธรรมะกับพระบาลีการจองเวร
ธรรมะกับพระบาลี ข้อคิดดีดี...เพื่อชีวิต เรื่องการจองเวร น่าอ่านครบถ้วนทั้งภาษาบาลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ . . .
ธรรมะกับพระบาลีมีสติ ด้วยปัญญา
สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะปัญญา แต่กว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันอย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้า ที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็คือปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะ ก็คือความรู้ชัดรู้จริงที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา
ธรรมะกับพระบาลีผู้มีสติ
ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นก็จะได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเมื่อตา มองเห็นรูปก็เป็นธรรมะ หูได้ยินเสียงก็เป็นธรรมะ จมูกได้กลิ่นก็เป็นธรรมะ ลิ้นได้รสก็เป็น ธรรมะ ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ นึกขึ้นได้เมื่อใดเป็นธรรมะเมื่อนั้น ฉะนั้น ผู้มีสติจึงได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน มันมี
ธรรมะกับพระบาลีการควบคุมจิตด้วยปัญญา
ถ้าเรามีจิตไม่ถูกปรุงแต่ง ก็เรียกว่า เรามีจิตเป็นพุทธะขึ้นมา เป็นผู้รู้ขึ้นมาทันที รู้อะไรถูกต้องขึ้นมาแล้วก็เป็นตัวเองอย่างแท้จริง สภาพมันอยู่คงที่หน้าตาของมันดั้งเดิม ของมันปรากฏอยู่อย่างนั้น ไม่ถูกฉาบไปด้วยกิเลส เรียกว่า ไม่ถูกปรุงแต่ง สภาพจิตมันเป็นอย่างนั้น...
ธรรมะกับพระบาลีจิต
คำว่า " จิต " ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง สภาพรู้ อาการรู้ลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และคำว่า จิตนี้ยังมีชื่อที่ใช้แทนคำว่าจิตในบางแห่งอีกมาก เช่น ใจ มโน มานัส ปัณฑระ หทัย วิญญาณวิญญาณขันธ์ มนายตนะ เป็นต้น ในชีวิตประจำวันของเรา จะทราบได้ว่าผู้ที่ยังไม่ตายมีชีวิตอยู่ เป็นผู้มีจิตเกิดดับต่อเนื่องไปจนกว่าจะตาย ฉะนั้น จิตคือ สภาพรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ธรรมะกับพระบาลีผู้มีปัญญา ไม่ประมาท
ผู้มีปัญญา ไม่ประมาท คือไม่มัวเมาในวัย ในอายุ และไม่มัวเมาในชีวิต ไม่เลินเล่อ ความผิดพลาดก็จะไม่เกิดขึ้น ในเมื่อบุคคลอื่นประมาท คือมัวเมาในวัยในอายุ และมัวเมาในชีวิต ทำให้เกิดความสะเพร่าเลินเล่อ ขาดสติสัมปชัญญะ ทำอะไรก็ผิดพลาด ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผู้ประมาทนั้น ย่อมประสบแต่ความพินาศ แต่บุคคลผู้มีปัญญาดีนั้นไม่ประมาท ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ในเมื่อผู้อื่นประมาทและหลับอยู่ ย่อมละทิ้งบุคคลผู้โง่นั้นไป เหมือนม้าที่มีฝีเท้าดี ย่อมวิ่งไปได้เร็ว ละทิ้งม้าตัวที่ไม่มีกำลังไปฉะนั้น
ธรรมะกับพระบาลี