ไม่ควรแแส่หาความผิดผู้อื่น
ไม่ควรแส่หาความผิดผู้อื่นหรือธุระที่เขาทำแล้วหรือยังไม่ทำควรตรวจดูเฉพาะกิจที่ตนทำหรือยังไม่ทำเท่านั้น
ธรรมะกับพระบาลีกลิ่นปุปผชาติ ก็หอมทวนลมไม่ได้
กลิ่นปุปผชาติ ก็หอมทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์ กฤษณา หรือดอกมะลิ ก็หอมทวนลมไม่ได้ แต่กลิ่นสัตบุรุษ หอมทวนลมได้
ธรรมะกับพระบาลีผู้มีปัญญา ไม่ประมาท
ผู้มีปัญญา ไม่ประมาท คือไม่มัวเมาในวัย ในอายุ และไม่มัวเมาในชีวิต ไม่เลินเล่อ ความผิดพลาดก็จะไม่เกิดขึ้น ในเมื่อบุคคลอื่นประมาท คือมัวเมาในวัยในอายุ และมัวเมาในชีวิต ทำให้เกิดความสะเพร่าเลินเล่อ ขาดสติสัมปชัญญะ ทำอะไรก็ผิดพลาด ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผู้ประมาทนั้น ย่อมประสบแต่ความพินาศ แต่บุคคลผู้มีปัญญาดีนั้นไม่ประมาท ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ในเมื่อผู้อื่นประมาทและหลับอยู่ ย่อมละทิ้งบุคคลผู้โง่นั้นไป เหมือนม้าที่มีฝีเท้าดี ย่อมวิ่งไปได้เร็ว ละทิ้งม้าตัวที่ไม่มีกำลังไปฉะนั้น
ธรรมะกับพระบาลีศรัทธาและโภตะ
มุนีพึงจาริกไปในเขตคาม ไม่ทำลายศรัทธาและโภตะของชาวบ้าน
ธรรมะกับพระบาลีมฤตยูฉุดคร่าคนผู้มัวเก็บดอกไม้ (กามคุณ)
กามคุณ ในพระพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี 5 ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ 5 นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" แปลว่า อารมณ์คือกามคุณ
ธรรมะกับพระบาลีปราศจากวิญญาณ
วิญญาณ ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หมายถึง วิญญาณล่องลอยที่เป็นผี แต่หมายถึงสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ คือ เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการรู้ เรียกว่าวิญญาณ คือ จิต ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงวิญญาณก็คือสภาพธรรมที่เป็นจิต วิญญาณหรือ จิตจึงมีหลายประเภทเช่น จักขุวิญญาณ หรือ จิตเห็น โสตวิญญาณ หรือ จิตได้ยิน ดังนั้นเมื่อวิญญาณหรือจิตเกิดขึ้น เป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เช่น จิตเห็น(จักขุ วิญญาณจิต) เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นคือ สี เป็นต้น
ธรรมะกับพระบาลียมโลก และเทวโลก
ยมโลก คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษตามคำพิพากษาของมัจจุราช มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น นิรยะ ยมโลก มฤตยูโลก ฯลฯ เทวโลก คือ โลกของเทวดา หมายถึงสวรรค์อันเป็นที่อยู่ของเทวดา
ธรรมะกับพระบาลีมีสติ ด้วยปัญญา
สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะปัญญา แต่กว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันอย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้า ที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็คือปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะ ก็คือความรู้ชัดรู้จริงที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา
ธรรมะกับพระบาลีผู้มีจิตไม่มั่นคง
เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี การสร้างบารมีเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ พระบรมโพธิสัตว์ในกาลก่อนท่านก็ทำอย่างนี้ คือสร้างบารมีไปจนกว่าบารมีจะเต็มเปี่ยม ได้บรรลุจุดหมายปลายทางของชีวิต ดังนั้นเราเกิดมาภพชาติหนึ่ง ก็เพื่อสั่งสมบุญบารมีเท่านั้น บุญที่เราได้ทำไว้ดีแล้ว จะเป็นเสบียงในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต คือการทำใจให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะไปสู่อายตนนิพพาน ได้เข้าถึงบรมสุขอันเป็นนิรันดร์
ธรรมะกับพระบาลี