มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาเพิ่มพูนเกียรติคุณ
"ยามคับขันย่อมต้องการคนกล้า ยามประชุมปรึกษาย่อมต้องการคนหนักแน่น ยามมีข้าวน้ำบริบูรณ์ย่อมปรารถนาผู้เป็นที่รัก ยามมีปัญหาย่อมปรารถนาบัณฑิตผู้มีปัญญา" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงสรรเสริญพระอานนท์ว่าเป็นยอดพหูสูต ผู้มีปัญญาลึกล้ำ
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ผู้นำบุญของโลก
อานิสงส์จากการทำหน้าที่ผู้นำบุญ ชักชวนผู้อื่นให้ทำความดีนั้น มีอานิสงส์มาก จะทำให้เราอยู่ใน เส้นทางแห่งความดีตลอดไป เหมือนท่านสันตติมหาอำมาตย์ที่ชักชวนคนทำความดีมาตลอด ๘๐,๐๐๐ ปี เมื่อถึงขีดถึงคราวบุญส่งผล ก็สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ - กรณียกิจ
กรณียกิจที่สำคัญสำหรับการเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นงานที่มีแต่คุณอย่างเดียว ไม่มีโทษแม้แต่น้อย เมื่อเราเข้าถึงแล้ว ชีวิตของเราก็จะสมบูรณ์ แต่หากยังเข้าไม่ถึง ชีวิตก็ไม่ต่างไปจากนกกา ที่ตื่นแต่เช้าออกไปทำมาหากิน กลับมานอนหลับพักผ่อน วนเวียนกันไปเช่นนี้ จนกระทั่งแก่ชรา และตายไปในที่สุด เช่นนี้เรียกว่า เกิดมาตายฟรี ชีวิตไม่มีสาระ
สละชีวิตเป็นทาน(ปรมัตถบารมี)
หากว่าปราชญ์พึงเห็นแก่สุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย เมื่อผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์แล้ว ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
ผู้ให้คือผู้ชนะ
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลก ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวง
กระต่ายน้อยในดวงจันทร์
“การสร้างบารมี” เป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี ดำเนินตามรอยบาทพระบรมศาสดา มุ่งแสวงหาสาระอันแท้จริงของชีวิต
การสร้างนิสัยดีตามพุทธวิธี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเอาเรื่องที่เราทุกชีวิตต้องคิด พูด และทำ ในชีวิตประจำวันมาเป็นบทฝึกนิสัย ด้วยการสั่งสอนให้เป็นผู้รู้จักมีสติเตือนตนอยู่เสมอ
94 ปี วิชชาธรรมกาย ข่าวจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
“ธรรมกาย” คือ กายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, “วิชชา” แปลว่า ความรู้แจ้ง, “วิชชาธรรมกาย” แปลว่า ความรู้แจ้งเรื่องธรรมกาย
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๗ ( ความจริงปรากฏ )
ครั้นเทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่เศวตฉัตรของพระราชา ไม่ได้สดับธรรมเทศนาของพระโพธิสัตว์หลายวัน และรู้ว่ามโหสถถูกกลั่นแกล้ง คนดีเทวดาต้องคุ้มครองรักษา พระราชาพระองค์นี้เป็นคนหูเบา มีปัญญาน้อย ไม่รู้จักเลือกใช้คนให้เป็น อาศัยกินบุญเก่าเท่านั้นถึงได้มาบังเกิดเป็นพระราชา เทวดาจึงคิดหาวิธี ที่จะให้มโหสถกลับมาอยู่ในราชสำนักตามเดิม เพื่อตนจะได้ฟังธรรมของมโหสถอีก
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๑ ( ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา )
จากเรื่องนี้จะเห็นว่า โทษของการบอกความลับแก่คนอื่น โดยที่ยังไม่ถึงเวลาสมควรมีโทษถึงตายทีเดียว ก่อนพูดจาเราเป็นนายของคำพูด ครั้นพูดไปแล้วคำพูดจะเป็นนายของเรา เพราะฉะนั้น ต้องฝึกเรื่องการพูดจาให้ดี เรื่องไหนควรพูด เรื่องไหนควรเก็บไว้เป็นความลับ ให้รู้จักเลือกให้ดี