พระศรีอริยเมตไตรย์ ตอนที่ 2 ท้าวความถึงสุเมธดาบสโพธิสัตว์
และในขณะนั้นเอง สุเมธดาบสโพธิสัตว์ ได้เหาะจากอาศรมผ่านมาทางที่มหาชนกำลังเตรียมงานกันอยู่พอดี
พระพุทธคุณ ตอน ผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้พระนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ คือ ทรงเป็นบรมครูของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เพราะตั้งแต่แรกที่ทรงสร้างบารมี พระองค์ทรงมีมหากรุณาธิคุณ ตั้งความปรารถนาที่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ไปสู่พระนิพพาน
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - อยู่กับปัจจุบันธรรม
เมื่อใจหยุดนิ่งเข้าไปถึงธรรมกายแล้ว เราจะเปรียบเทียบได้ เห็นชัดด้วยตนเองว่า กายธรรมนี้เป็นขันธวิมุตติที่หลุดพ้นจากขันธ์ห้า เป็นกายที่พ้นจากไตรลักษณ์ ออกนอกภพสาม เป็นธรรมขันธ์ คือ ทั้งก้อนกายมีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ เป็นธาตุล้วนๆ ธรรมล้วนๆ ควรยึดไว้เป็นที่พึ่งที่ระลึก
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - พากเพียรเพื่อพระนิพพาน
บุคคลผู้มีปัญญา หากปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ ต้องแสวงหาหนทางพระนิพพาน อันเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ อีกทั้งต้องมีความพากเพียรพยายามไม่ลดละ เพื่อทำความปรารถนานั้นให้สำเร็จ จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งยังสามารถเป็นกัลยาณมิตรชี้ทาง สว่างและเป็นแบบอย่างให้กับชาวโลกได้อีกด้วย ดังเช่น พระมหามิตตเถระ ผู้มีความเคารพในทานที่ญาติโยมตั้งใจถวายด้วยศรัทธา
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๖)
ยอดนักสร้างบารมีทั้งหลายในกาลก่อน กว่าที่ท่านจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้น ต้องชิงช่วงชีวิตในการสร้างบารมี เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในขณะที่ผู้อื่นประมาทอยู่ เป็นผู้ตื่นอยู่ในขณะที่ผู้อื่นหลับใหล การสร้างบารมีแบบชิงช่วงนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยกำลังใจอันสูงยิ่ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - การให้ที่มีผลมาก (๒)
"ดูก่อนคฤหบดี เวลามพราหมณ์ ก็คือเราตถาคตนี่แหละ เราแม้เมื่อให้ทานมากมายเห็นปานนั้น ก็ไม่ได้มีบุคคลผู้สมควรจะมารับทักษิณาทานของเรา แม้เพียงคนเดียว ถึงกระนั้นก็ส่งผลให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลายาวนาน ส่วนท่านได้ให้ทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นับว่าได้โอกาสอันเลิศแล้ว เพราะฉะนั้น จงยินดีในการให้ทานต่อไปเถิด"
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - รักลูกให้ถูกทางนิพพาน
สำหรับวันนี้เรามารับฟังเรื่องราวของพระเถรีรูป หนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า พระวัฑฒมาตาเถรี ซึ่งนอกจากท่านจะเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่บุตรของตนด้วยการยกตนให้พ้นจาก กองกิเลสแล้ว ท่านยังเป็นกัลยาณมิตรให้กับบุตรอีกด้วย เรียกว่าเป็นที่พึ่งทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น และบุตรของท่านก็ได้ชื่อว่า เป็นอนุชาตบุตร เป็นบุตรผู้เสมอกับมารดา
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - สั่งสมปัญญาบารมี
ความรู้ในพระไตรปิฎกนั้น ยิ่งศึกษายิ่งแตกฉาน ทำให้เราเข้าใจและรู้หนทางไปสู่อายตนนิพพานเพิ่มมากขึ้น เสมือนได้นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระบรมศาสดา กาย วาจา ใจ ของเราจะบริสุทธิ์เกลี้ยงเกลาตามพระองค์ไปด้วย ในตอนนี้จะได้อธิบายเกี่ยวกับหมวดพุทธวจนะ ในพระไตรปิฎก
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๑ )
ชายคนหนึ่งชื่อ มหาทุคตะ เพราะความเป็นผู้ยากจนมาก ยากจนกว่าใครทั้งหมดในเมือง บางวันเขาและภรรยาต้องไปขออาหารเหลือเดน ที่ชาวบ้านจะเททิ้งมากินประทังชีวิต แม้มหาทุคตะจะจนทรัพย์แต่ไม่อับจนปัญญา ในวันนั้นบุญเก่าตามมาทัน ส่งผลให้เกิดปัญญา เขาคิดว่า "ที่เราอดอยาก ยากจนอยู่ทุกวันนี้ เพราะความตระหนี่ของเราแท้ๆ ดังนั้น วันนี้ เราจะต้องทำบุญใหญ่ให้ได้"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยบุญบารมี
เรื่องมีอยู่ว่า พญาปฐวินทรนาคราช ผู้ได้เสวยสุขอยู่ในนาคพิภพ สมบูรณ์ด้วยสมบัติอันโอฬารล้วนด้วยรัตนชาติ พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณทั้งห้า ครั้นได้เสวยสุขสมบัติอันซ้ำซากจำเจอย่างนั้นนานวันเข้า เกิดความเบื่อหน่ายในนาคพิภพ อันเป็นปกติของหมู่สัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงดำริอยู่ในใจว่า"แม้เราจะสมบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยรัตนสมบัติมากมาย แต่ก็ไม่ได้ประเสริฐเท่าใด เพราะยังไม่พ้นจากกำเนิดของสัตว์ที่ต้องเลื้อยคลานไปได้"