ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 20
“ใครหนอเป็นผู้แนะนำธรรมะสั่งสอนพระองค์ ถ้อยคำอันสะอาดนี้ เป็นถ้อยคำของใคร ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เพราะข้าพระองค์มิเคยเห็นพระองค์ได้ตรัสกับสมณะผู้มีวัตรปฏิบัติก้าวล่วง ทุกข์ ซึ่งแนะนำหนทางสู่ความหลุดพ้นแก่พระองค์เลย”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 2
ผู้ที่เป็นใหญ่คุมกำลังอำนาจ พึงสังวรให้ดีว่า หากไม่ฝึกกองกำลังนั้นให้มีศีลธรรมตั้งมั่นอยู่ในใจ ไม่ฝึกให้เป็นคนที่มีระเบียบวินัย ในไม่ช้ากองกำลังของตนนั้นก็จะทำให้ตนเดือดร้อนจนได้ เหมือนที่พระโปลชนกทรงประสบอยู่ในขณะนี้
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๑ )
พระราชาทรงมองดูลำต้น พลางดำริว่า ต้น มะม่วงต้นนี้ เมื่อเช้านี้เอง ยังเต็มไปด้วยผล เป็นพวงสวยงาม ทำความอิ่มตาเบิกบานใจให้แก่ผู้พบ เห็นที่ผ่านมาผ่านไป มาบัดนี้ ถูกเก็บผลหมดแล้ว มีกิ่งหักห้อยรุ่งริ่งดูไม่งาม แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล พระองค์ทรงกำหนดไตรลักษณ์เช่นนี้ ทรงเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - สักการะรอยพระพุทธบาท
ผลแห่งบุญนี้ น่าอัศจรรย์เหลือเกิน เราได้เห็นรอยพระบาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ทรงประทับรอยไว้ เป็นผู้มีใจร่าเริงโสมนัส ยังจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราไม่เคยไปสู่สุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสักการะรอยพระพุทธบาท
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๖ ( ลี้ภัยการเมือง )
วันหนึ่ง เสนกะได้แอบปรึกษาหารือกับปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะ ว่าทำอย่างไรจึงจะกำจัดมโหสถได้ มิเช่นนั้นพวกตน ก็จะเหมือนวัวแก่ที่ไม่มีค่าแก่การเทียมเกวียน เสนกะได้ออกอุบายด้วยการแอบไปลักขโมยพระจุฬามณีของพระราชา ให้ท่านปุกกุสะไปขโมยสุวรรณมาลา...
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๒)
คนพาลทำกรรมชั่วที่มีผลเผ็ดร้อน แล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี ไม่ควรกระทำ ส่วนบุคคลใดทำกรรมใดแล้ว มีหัวใจแช่มชื่นเบิกบาน ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้น เป็นความดี ควรทำ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - เป็นมนุษย์สุดประเสริฐ
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น เป็นของยากเหลือเกิน จะต้องมีกำลังบุญมากพอ ถ้ากำลังบุญน้อยๆ มาเกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้ แต่ดูเหมือนว่า สิ่งที่ได้มาด้วยความยากลำบากนี้ เรามักใช้กันอย่างไม่ทะนุถนอม ใช้กันอย่างถล่มทลาย โดยไม่รู้คุณค่าของกายมนุษย์ ว่าสำคัญแค่ไหน
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๓)
จากเรื่องนี้ เราจะเห็นได้ว่า แม้เราจะทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ที่สุด ก็อาจเกิดการเข้าใจผิดกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้ว ฉะนั้น การเข้าใจผิดจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย และพร้อมจะเกิดขึ้นเสมอในสังคมโลกปัจจุบัน เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ พวกเราทุกคนควรนำไปเป็นข้อคิดว่า
กินจิ้งจกรักษาโรค
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - กลิ่นแห่งความหลุดพ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสตอบติสสฤๅษีว่า ชนเหล่าใดฆ่าสัตว์ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย มีความเห็นว่า ทานที่บุคคล ให้แล้วไม่มีผล เป็นผู้ประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ให้ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อ และโภชนะไม่ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบ และสัตว์เหล่าใดขวนขวายในอกุศลกรรม ตายแล้วย่อมเข้าถึงที่มืด มีศีรษะลงตกไปสู่นรก