มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๘ ( แก้ปมปริศนา )
ในครั้งนี้ ยังคงนำเรื่องมโหสถบัณฑิตผู้มีปัญญาเฉียบแหลมมาให้ได้ติดตามกันต่อ แม้มโหสถบัณฑิตอายุยังน้อย แต่ก็สามารถแก้ไข หรือพิจารณาอรรถคดีต่างๆ ได้ถูกต้องแม่นยำอย่างน่าอัศจรรย์ จนชนะใจอำมาตย์ว่า บุคคลนี้แหละที่พระราชาทรงสุบินนิมิตว่า ทรงเห็นไฟกองเล็กๆ ผุดขึ้นท่ามกลาง ไฟกองใหญ่ ๔ กอง ไฟกองเล็กนี้สว่างไสว พุ่งขึ้นไปได้ถึงพรหมโลกทีเดียว
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - โทษที่ไม่มีโทษ
การที่เราจะเป็นผู้ปกครองที่ดี จะต้องรู้จักสอนคนในปกครองให้เป็นคนดี ให้เขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพ คือให้มีความรู้คู่คุณธรรม ครูบาอาจารย์ที่ดีก็เช่นกัน ต้องหมั่นตักเตือนสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดี คอยประคับประคองให้ลูกศิษย์ดำเนินไปในเส้นทางที่ถูกต้อง ถูกทำนองคลองธรรม โดยไม่กลัวภัยที่จะเกิดขึ้นกับตน
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - กัลยาณวาทะ
นิครนถ์นาฏบุตร เจ้าลัทธิเดียรถีย์ที่ไม่ชอบใจในพระบรมศาสดา เพราะศรัทธามหาชนของตนเองห่างเหินไป จึงแต่งปัญหาข้อหนึ่งเป็นโอวัฏฏิกสาระ คือปัญหาวนเวียน ไม่มีใครสามารถแก้ได้ ปัญหานี้นิครนถ์ใช้เวลา ๔ เดือน จึงคิดออก และยุให้อภัยราชกุมารเรียนปัญหานั้นจนแตกฉาน เพื่อจะได้ส่งไปโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - สงเคราะห์บุตรให้เข้าถึงธรรม
การเลี้ยงลูกตามหลักพุทธศาสนานั้น ต้องเริ่ม ต้นที่พ่อแม่ คือพ่อแม่ต้องทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ลูก เราอยากได้ลูกที่มีคุณธรรมสูง มีความกตัญญูกตเวที พ่อแม่ก็ต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรมเหล่านั้นด้วยและทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง บุญในตัวของพ่อแม่จะดึงดูดให้ได้ลูกแก้วลูกผู้มีบุญที่เป็นยอดกตัญญู
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ - รู้จักพอ ก่อให้เกิดสุข
การเปลี่ยนแปลง คือ การแสวงหา นั่นคือ สัญญาณบอกให้เรารู้ว่า เรายังไม่พบของที่ดีจริง จึงเบื่อหน่ายเร็ว หายเห่อเร็ว เมื่อเบื่อก็เปลี่ยนแปลง แสวงหากันต่อๆ ไปอย่างนั้น การแสวงหาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้แหละ ที่เรียกว่าไม่สันโดษ
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - อบรมตนมุ่งสู่ทางสวรรค์
ผู้คนมากมายซึ่งต่างไม่ปรารถนาจะให้พระราชาออกผนวช พากันยื่นข้อเสนอมากมาย แต่พระองค์ไม่ได้ทรงยินดีกับสิ่งเหล่านั้น ยังคงมีพระทัยมุ่งมั่นที่จะเสด็จออกบรรพชาให้ได้ พระองค์ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจว่า "ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของน้อยนิด ดุจน้ำที่อยู่ในโคลน เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินเช่นนี้ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาท
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - บัณฑิตผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์
ในขณะนั้นเอง ดวงตาเห็นธรรมได้บังเกิดขึ้นกับท่านอชิตะ และท่านได้ทูลถามถึงข้อควรปฏิบัติ โดยกล่าวถามอย่างชาญฉลาดว่า "ชนผู้ได้เห็นธรรมแล้ว และชนผู้ยังต้องศึกษาอยู่ สองพวกนี้มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก พระองค์มีปัญญาแก่กล้า ขอทรงโปรดตรัสบอกวิธีการปฏิบัติแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (1)
นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาปกรรมแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ บรรลุความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
พระพุทธคุณ ตอน พระผู้เสด็จไปดีแล้ว
พระสุคต มาจากศัพท์บาลี คือ สุคโต แปลว่า เสด็จไปดี เสด็จไปงาม คือ พระองค์ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่ อริยมรรค และได้เสด็จไปสู่ที่ดีงาม คือ พระนิพพาน โดยทรงดำเนินรุดหน้าไป ไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว
แสนโกฏิจักรวาล
หมู่สัตว์ ๑ อากาศ ๑ จักรวาลไม่มีที่สุด ๑ และพระพุทธญาณอันหาประมาณมิได้ ๑ ทั้ง ๔ อย่างนี้ ใครๆ ไม่อาจรู้ได้