มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - กงล้อแห่งความเจริญ
ต้นไม้แม้ไม่มีจิตยังกลับกลายได้ ไม่ต้องพูดถึงมนุษย์ที่มีจิตใจ น้ำหยดลงหินทุกวัน หินยังกร่อนได้ เสาศิลา เมื่อมีคนมาโยก เสาศิลายังสั่นคลอนได้ คนหรือสิ่งของใกล้ตัวก็เช่นเดียวกัน มีผลต่อเรามาก เราจึงควรคบหานักปราชญ์บัณฑิต หมั่นหาโอกาสไปสนทนากับสัตบุรุษ และสัตบุรุษที่แท้จริงที่มีอยู่ในตัวเรา คือ พระธรรมกาย
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ยิ่งให้สมบัติใหญ่ยิ่งไหลมา
เมื่อให้ทาน สละทรัพย์ออกจากใจ ความตระหนี่ซึ่งเป็นวิบัติก็หลุดร่อนออกไปด้วย เมื่อวิบัติหลุดออกไป สิริสมบัติก็หลั่งไหลเข้ามาแทน บุญที่เกิดจากการให้ทานและเอาชนะความตระหนี่ในใจได้นี้ ไปดึงดูดสมบัติใหญ่มา ทำให้ได้สมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการ ได้ทั้งโลกิยทรัพย์และอริยทรัพย์ ดังเรื่องของหญิงชราท่านหนึ่ง ที่ตัดใจให้ทานเอาชนะใจตนเองได้ โดยสละทรัพย์ที่หามาด้วยความยากลำบากออกให้ทาน
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - คิดก่อน พูดก่อน ทำก่อน ได้ก่อน
กุฎุมพีชื่อว่า เวเทหะ มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามากได้เข้าไปถวายนมัสการพระบรมศาสดาและกราบทูลถามว่า "วันพรุ่งนี้ ขอพระองค์ทรงเมตตารับภิกษาของข้าพระองค์เถิด" พระบรมศาสดาตรัสว่า "มี ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป"แม้จะมีพระภิกษุสงฆ์มากมายถึงเพียงนี้ อุบาสกก็ไม่วิตกกังวล กลับมีความปีติเบิกบานใจ ที่จะได้ถวายทานแด่ภิกษุจำนวนมากมายถึงเพียงนั้น
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เนื้อนาบุญอันเลิศ
พระราชาว่า "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นสุขุมาลชาติเคยประทับในพระตำหนักอัน ประเสริฐ ทรงบรรทมเหนือพระยี่ภู่อันใหญ่โต เสด็จจากพระราชวังมาต่างถิ่นที่ปราศจากความเจริญ จึงได้ทูลถวายข้าวสุกอย่างดีมีกับเลิศรสเช่นนี้ พระองค์รับภัตตาหารนั้นแล้วไม่เสวยเอง แต่พระราชทานแก่พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตทำไม พระเจ้าข้า"
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - สงเคราะห์บุตรให้เข้าถึงธรรม
จงเลือกเอาว่า ต้องการให้ลูกของเราเป็นคนดีในระดับใด เรามีสิทธิ์เลือก จะให้เป็นคนดีแบบทางโลก หรือเป็นคนดีที่แท้จริง ที่สมบูรณ์ทั้งทางโลกและทางธรรมก็แล้วแต่เรา เพราะพ่อแม่คือผู้เปิดโลกให้แก่ลูก แต่ถ้าจะเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีตามแบบอย่างของบัณฑิตทั้งหลาย ต้องแนะนำให้ลูกปฏิบัติธรรม ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
น.ศ.ม.อุบลฯจับกลุ่มสวดมนต์ นั่งสมาธิแก้ฟุ้งเฟ้อ-ตามกระแสสังคม
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๔ )
ฝ่ายมหาทุคตะกลับจากวิหารเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น บังเกิดมหาปีติ ขนลุกไปทั่วสรรพางค์ ปลื้มใจว่า ฝนรัตนะ ๗ ประการ ตกเพราะพุทธานุภาพอันไม่มีประมาณ รวมทั้งบุญญานุภาพที่ตัวได้ทำในวันนี้ จากนั้นเขารีบไปยังราชสำนัก พลางกราบทูลพระราชาว่า "บ้านของข้าพระองค์เต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขอพระองค์ทรงให้ราชบุรุษนำเกวียนไปขนทรัพย์นั้นมาเถิด พระเจ้าข้า"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๒ )
พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า นัคคชิ พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นหญิงคนหนึ่งที่สวมกำไลแก้วมณี แล้วทรงดำริว่า กำไล แขนนี้ เมื่ออยู่ข้างละอันไม่กระทบกัน ครั้นเมื่อย้ายมาอยู่รวมกันจึงกระทบกัน สัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน หากแยกกันอยู่จะไม่ส่งเสียง ไม่ทำร้ายกัน เมื่อมี ๒ คน หรือ ๓ คนขึ้นไป จะกระทบกระทั่งกัน มีการทะเลาะวิวาททำร้ายกันเป็นต้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สั่งสมบุญเพื่อตนเอง
เทพธิดาผู้ได้สั่งสมบุญไว้อย่างดีแล้วในครั้งที่เป็นมนุษย์ ได้เป็นผู้สำรวมด้วยดีในศีล ที่ได้สมาทานไว้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และมีดวงตาเห็นธรรมแทงตลอดในอริยสัจ แล้วผลบุญจะเป็นเ่ช่นไรนั้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สู่เส้นทางนิพพาน
พระบรมศาสดาประทานพระโอวาทว่า "อานนท์ เธอเป็นผู้ที่ได้ทำบุญไว้ดีแล้ว ในบรรดาพุทธอุปัฏฐากทั้งหลายในภัทรกัปนี้ เธอเป็นยอดของอุปัฏฐากเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เธอจงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะในภพชาตินี้" แล้วท่านพระอานนท์ ท่านได้บรรลุธรรมโดยขณะที่กำลังเองหลังลงนอน เรื่องราวเป็นอย่างไรนั้น