ทำไมต้องทาน ศีล ภาวนา
การให้ทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา เป็นข้อปฎิบัติในชีวิตประจำวันของชาวพุทธ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบไว้ให้
๔๐ วิธี เพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่ รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่า พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต
กายแห่งการตรัสรู้ธรรม
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย มาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์ย่อมกำจัดมาร และเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์กำจัดความมืด ส่องสว่างอยู่ในอากาศ ฉะนั้น
เส้นทางไปของผู้มีรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
ชนเหล่าใดในศาสนานี้ละกามราคะอนุสัย คือภวราคะ และโมหะได้ขาด ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ต้องนอนในครรภ์ คือเกิดอีก เพราะถึงนิพพานดับทุกข์เย็นสนิทดีแล้ว
รู้แจ้งด้วยธรรมกาย
ชนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้ ความมืดตื้อย่อมมีแก่ชนพาลทั้งหลายผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผู้ไม่เห็นอยู่ ส่วนนิพพานเป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษผู้เห็นอยู่ เหมือนอย่างแสงสว่าง ฉะนั้น ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่ในที่ใกล้ ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่นไปตามกระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารเนืองๆไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ได้โดยง่าย
หนทางสายกลาง
หนทางสายกลาง พระตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง เกิดธรรมจักขุ เกิดญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม และเพื่อพระนิพพาน
วิสาขามหาอุบาสิกา (สุเมธายอดนารี)
ดิฉันเข้าอยู่ประจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔, ๑๕ และดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ดิฉันสำรวมแล้วในศีลทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉัน จงแตกเป็น ๗ เสี่ยง
วิสาขามหาอุบาสิกา (สร้างบุพพาราม)
นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มาก จากกองดอกไม้แม้ฉันใด มัจจุสัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มากฉันนั้น
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ก่อนลมหายเฮือกสุดท้าย)
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้น นำสุขมาให้
ปชาบดีเถรี ผู้รัตตัญญู (๓)
อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติตน ดุจคนมีศีรษะถูกไฟไหม้ มฤตยูที่จะไม่มาถึงย่อมไม่มี