ภูมิของพระอนาคามี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ มีความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยบุคคลนี้คือ สมณะที่ ๓ ในพุทธศาสนา
อนาคามีโลกุตรภูมิ ภูมิของผู้ที่จะไม่กลับมาเกิดในกามภพอีก
ผู้ที่บรรลุธรรมเข้าถึงสภาวะความเป็นพระอนาคามีแล้ว หลังจากละโลกแล้ว จะบังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส อันเป็นที่บังเกิดของบุคคลผู้เข้าถึงภาวะความเป็นพระอนาคามี
ภูมิของพระโสดาบัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ปัญจสุทธาวาส
ภิกษุเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อแสดงฤทธิ์ เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ย่อมสามารถลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใด ก็ทำภาชนะชนิดนั้นให้สำเร็จได้
ธรรมกายคือธรรมขั้นไหน
ธรรมกาย คือกายที่เกิดจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ได้ สมบูรณ์ พอใครปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ได้ถูกส่วนเข้า ใจจะหยุดแล้วเห็นกายภายในกายหนึ่งที่ศูนย์กลางกาย เรียกว่า “ธรรมกาย”
โลกุตรภูมิ ภูมิที่พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
โลกุตรภูมิ คือ ภูมิหรือชั้นที่พ้นจากภพ 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ หมายถึง ระดับจิตของพระอริยบุคคลที่พ้นจากกิเลสโดยเด็ดขาดตามลำดับ และรวมถึงอมตมหานิพพานด้วย
ความงดงามของพรหมภูมิ ตอนจบ
อย่างไรก็ดี การมีชีวิตที่ยืนยาวอยู่บนพรหมโลก กลับเป็นการตัดโอกาสตนเองในการลงมาสั่งสมบุญบารมีในเมืองมนุษย์ พรหมในหลายๆ ชั้นหมดโอกาสได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ผู้มีจิตมั่นคง
ครั้นเวลาเช้า พระภิกษุสงฆ์มีพระเถระทั้งสองเป็นประมุข ได้ออกบิณฑบาตไปตามถนน แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่บ้านของนางนันทมารดาซึ่งได้จัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี เมื่ออังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว นางก็เข้าไปนั่งสนทนา เล่าเรื่องที่ได้สนทนากับท้าวเวสสวัณเมื่อรุ่งอรุณให้พระเถระทั้งสองฟัง
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - สักการะรอยพระพุทธบาท
ผลแห่งบุญนี้ น่าอัศจรรย์เหลือเกิน เราได้เห็นรอยพระบาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ทรงประทับรอยไว้ เป็นผู้มีใจร่าเริงโสมนัส ยังจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราไม่เคยไปสู่สุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสักการะรอยพระพุทธบาท
อานิสงส์ให้อาหารปลา
บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกามพึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า