ทางสายกลางเส้นทางตรัสรู้ของพระพุทธองค์
วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นับเป็นวันสำคัญที่มหาบุรุษ เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรทางจิต ณ ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการดำเนินจิตตามทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา
สามเณรนิโครธ ผู้จุดให้พระเจ้าอโศกมหาราชหันมานับถือและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ประมาณ ๓๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งนามว่า สามเณรนิโครธ อายุเพียง ๗ ขวบ ได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์สามเณรน้อยมีผิวพรรณผ่องใสและเป็นผู้ที่ฝึกตนเป็นอย่างดีจึงมีบุคลิกที่สงบเสงี่ยมสง่างามน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทำให้พระราชาคือ พระเจ้าอโศกมหาราชเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในทันทีที่เห็นสามเณรเดินผ่าน
ชีวิตวันนี้ของหง่ายชอ (ดร.เค)
ผมเข้าวัดครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2526 และได้ทำบุญกับวัดเป็นครั้งแรก ด้วยการซื้อที่ดินถวายวัด จำนวน 110 ตารางวา เป็นเงิน 6,875 บาทครับ ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2539 ผมเห็นภาพวาด “มหาธรรมกายเจดีย์” สิ่งมหัศจรรย์ใหญ่ที่สุดในโลกบนหน้าปกนิตยสารผู้นำการตลาด ภาพที่ 2 ผมก็ไม่รอช้ารีบชวนคุณทัศนีย์(หวานใจของผม) ไปตัดชุดขาว เพื่อมาทำบุญที่วัดและเราก็ได้ลุยสร้างบุญกันถี่ๆทุกบุญ เพราะเรื่องบุญแผ่วไม่ได้ครับ
ทำไม...ต้องนั่งสมาธิทุกวัน
การนั่งสมาธิ เป็นการปรับสภาพใจเข้าสู่ความปกติสมดุล เมื่อใจสมดุล เราจะสามารถมองอะไรเป็นไปตามความเป็นจริงได้มากขึ้น ครั้นเมื่อเจอเรื่องร้ายๆ เข้ามาในชีวิตเราก็จะไม่เสียใจจนเกินไป ใจเราจะถูกยกขึ้นเหนืออุปสรรค
อริยมรรค หนทางสู่ความหลุดพ้น
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความมัวเมา บรรเทาความเศร้าโศก เปลื้องตนให้หลุดพ้นจากสงสาร ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพเถิด
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (๒)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางสุดโต่งสองอย่างบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การทรมานตัวเองให้ลำบากและการประกอบพัวพันในกาม
หนทางสู่ธรรมกาย
ดูก่อนวาเสฏฐะ คำว่า ธรรมกายก็ดี คำว่า พรหมกายก็ดี คำว่า ธรรมภูต ก็ดี หรือคำว่า พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของพระตถาคต
มัชฌิมาปฏิปทา เส้นทางสู่ความหลุดพ้น
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาที่เป็นธรรมทำให้มีดวงตา ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ
วิสาขามหาอุบาสิกา (มหาลดาปสาธน์)
ผู้ที่มาเกิดแล้ว จำจะต้องตายในโลกนี้ ย่อมทำกรรมใดไว้ คือ เป็นบุญและเป็นบาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล เป็นสมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไปสู่ปรโลก บุญและบาปนั้น ย่อมจะติดตามตัวเขาไป ประดุจเงาติดตามตนไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงบำเพ็ญบุญ สะสมกรรมดีไว้เป็นสมบัติในปรโลก เพราะว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ยอดกัลยาณมิตร)
ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะแล้ว เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ทุกข์ และตัณหาอันเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันไปจากข้าศึก ให้ถึงพระนิพพานเป็นที่เข้าไประงับทุกข์ นี้แลเป็นสรณะอันเกษม นี้เป็นสรณะอันอุดม บุคคลอาศัยสิ่งนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้