ธุดงค์ธรรมชัย จาริกไปตามพุทธโอวาท
ธุดงค์ธรรมชัย จาริกไปตามพุทธโอวาท เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
ชี้ “ธุดงค์ธรรมชัย” ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา
พระมหาเถระ-ราชการ-ประชาชน ปลื้ม!! ชี้ “ธุดงค์ธรรมชัย” ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา
ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร
ขณะเมื่อพระพุทธศาสดาประทับในมหาวิหารทรงแจ้งในพระญาณว่า ยังมีภิกษุเกียจคร้านอาศัยครองเพศสมณะไปวัน ๆ ทรงตักเตือนด้วยพุทธโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลายกระทำความเพียร ในที่ที่ควรประกอบความเพียร ก็ยังบรรลุถึงราชสมบัติได้” ทรงระลึกชาติของพระองค์ด้วยชาดกเรื่องหนึ่งส่งเสริมพุทธโอวาทเกี่ยวกับความเพียรนั้น
วัดพระธรรมกายบอร์คโด จัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์
วัดพระธรรมกายบอร์คโด ประเทศฝรั่งเศส ได้จัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์
กัณหทีปายนชาดก ชาดกว่าด้วยความรักที่มีต่อบุตร
“ เมื่อตอนแรกที่เราบวช เรายินดีประพฤติพรหมจรรย์ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น จากนั้นแม้เราไม่ยินดีก็ทนประพฤติพรหมจรรย์ถึง ๕๐ กว่าปี ด้วยความสัตย์อันนี้ ขอให้ยัญญทัตตกุมารจงรอดชีวิตเถิด ” มัณพัพยะได้ถามถึงสาเหตุที่ทีปายนดาบสฝืนประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ยอมสึกมาครองเรือน “ ถ้าท่านไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ แล้วทำไมท่านไม่ออกมาครองเรือนหละ ” “ เพราะเราไม่อยากให้ใครว่าเราเป็นคนเหลวไหล กลับกรอกนะสิ
นังคลีสชาดก ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว
“ มานพนี้ เมื่อกล่าวว่างูเหมือนงอนไถ่ ก็กล่าวถูกต้องก่อนแล้ว แม้กล่าวว่าช้างเองก็เหมือนงอนไถ ก็คงพอจะกล่าวได้ด้วยเล่ห์ที่หมายเอางวงช้าง แม้กล่าวว่าอ้อยเหมือนงอนไถ่ก็ยังพอเข้าท่า แต่นมส้มนมสด ขาวอยู่เป็นนิจ ทรงตัวอยู่ได้ด้วยภาชนะ ไม่น่าจะกล่าวอุปมาในข้อนี้ได้โดยประการทั้งปวงเลย เราไม่อาจให้คนเลื่อนเปื้อนผู้นี้ศึกษาได้อีกเสียแล้ว ”
นันทิวิสาลชาดก ชาดกว่าด้วยการใช้วาจาไพเราะ
โคนันทิวิสาลได้กำลังใจจากพราหมณ์ ทำให้มีพลังใจมากมายประกอบกับชาวบ้านเมื่อเห็นภาพของพราหมณ์ที่พูดจาไพเราะให้กำลังใจโคของเขา จากที่เคยขบขันก็เกิดเป็นความประทับใจ พลอยให้กำลังใจเจ้าโคไปด้วย โคผู้กตัญญูรู้คุณออกแรงลากจนล้อเกวียนเริ่มหมุน เกวียนทุกเล่มก็เคลื่อนที่ตาม ๆ กัน
โกสัมพิยชาดก ชาดกว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
“ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วย ทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
สสปัณฑิตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน
“ มิจำเป็นที่ผู้อื่นจะต้องล่วงรู้หรอกท่านพญากระต่าย คุณความดีในการเสียสละชีวิตเพื่อให้ทานของท่านในครั้งนี้จะคงอยู่ปรากฎตลอดไป ” ทันทีที่กล่าวจบท้าวสักกะในร่างของพราหมณ์ ก็ทำการเขียนรูปของพญากระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเสียสละครั้งนี้ให้อยู่สืบไป
คูถปาณกชาดก ชาดกว่าด้วยหนอนท้าสู้กับช้าง
เจ้าช้างถ่ายคูตก้อนใหญ่ลงบนหัวหนอนนั้น และถ่ายปัสสาวะรดหนอนคูต พร้อมทั้งแผดเสียงร้องอย่างสะใจ ก่อนจะเดินหายลับเข้าไปในป่าตามยถากรรม เหตุการณ์ระหว่างที่เจ้าหนอนคูตท้าสู้กับช้างนั้น เป็นที่แจ้งประจักษ์แก่เทวดาที่อยู่ในไพรสณฑ์นั้น ซึ่งเฝ้ามองดูชะตากรรมช่างน่าอนาถของเจ้าหนอนคูตที่ต้องมาตายเพราะความหยิ่งผยองลำพองตน