ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า ครั้งที่5
พิธีมอบเครื่องอุปโภคบริโภคมีขึ้นเมื่อเวลา 9.30น.ของวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2551 ณ ห้องรับรองของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งชาติ เมืองย่างกุ้ง โดยมีตัวแทนองค์กรชาวพุทธจากนานานาชาติเป็นผู้มอบ ส่วนตัวแทนฝ่ายผู้รับมอบ ได้แก่ หลวงพ่อภัททันตะ กุมาระ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งชาติ เมืองย่างกุ้ง และ ฯพณฯ ตุระอองโก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการศาสนา พร้อมคณะ งานนี้มีล่ามแปลถึง 3ภาษา คือ ไทย จีน และพม่า
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า ครั้งที่4
พิธีมอบสิ่งของ มีขึ้นเมื่อเวลา 12.30น. ของวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2551 ณ ห้องรับรองมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งชาติ เมืองย่างกุ้ง ตัวแทนผู้มอบประกอบด้วย ฯพณฯ บรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง และคณะจากมูลนิธิธรรมกาย 11ท่าน ส่วนตัวแทนฝ่ายผู้รับมอบ ประกอบด้วย หลวงพ่อภัททันตะ กุมาระ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งชาติ ฯพณฯ ตุระ มินต์ เมือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนา และคณะ
พระธรรมาจารย์ไห่เทา ช่วยพม่า
อีกทั้ง ในวันที่ 18-20 มิถุนายนนี้ (การให้ความช่วยเหลือครั้งที่ 5) ทางคณะ เซิงมิ่งเตี้ยนซื่อไถ (Life TV) ก็จะส่งตัวแทนเดินทางไปประเทศสหภาพเมียนมาร์ พร้อมกับหมู่คณะของเรา ร่วมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค สังกะสีและผ้าไตรให้แก่ผู้ประสบภัย โดยทางสำนักข่าว DNN จะขอนำภาพบรรยากาศแห่งความปลื้มปีติมานำเสนอต่อไป
ข่าวถึงลูกพระธัมฯทั่วโลก
สิ่งที่เป็นความต้องการอย่างมากในเวลานี้ นอกจากข้าวปลาอาหาร และเสื้อผ้าแล้ว ก็คือ สังกะสีมุงหลังคา เพราะว่าถูกพายุพัดพาหายไปเป็นจำนวนมาก เฉพาะที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ก็ยังขาดสังกะสีในการซ่อมแซมหลังคา อีกราว 10,000แผ่น
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า (2)
“กาลทาน” เป็นทานของผู้ฉลาด รู้จักคิดรู้จักทำได้ถูกกาลถูกเวลา ให้สิ่งของจำเป็นในยามที่ผู้รับมีความต้องการอย่างยิ่ง เพราะในเวลานี้น้ำทุกหยด ข้าวทุกเม็ด เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งต่อทุกชีวิตที่กำลังประสบภัยพิบัติ ผู้ใดที่ให้ได้ถูกกาลเช่นนี้ ย่อมได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ จะไม่มีวันได้พบได้รู้จักกับความอดอยากยากเข็ญตลอดไป
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า
มีพื้นที่ถูกประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ 5รัฐ ส่วนสถานการณ์ในเมืองย่างกุ้ง หลังโดนไซโคลนถล่ม หลายพื้นที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ต้นไม้และเสาไฟฟ้า หักโค่นล้มระเนระนาดกีดขวางถนน ประชาชนยังไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่มีน้ำกินน้ำใช้ และขาดแคลนอาหาร
Aid in Burma Dried Tear
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
51 ปี วัดพระธรรมกาย
ผลงานที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 51 ปี ที่ผ่านมา วัดพระธรรมกายได้สร้างวัดไป พร้อม ๆ กับการสร้างคน คือ สร้างพระภิกษุให้เป็นพระแท้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา รวมทั้งปลูกฝังศีลธรรมลงในใจของผู้คนทุกเพศทุกวัย
วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม-ข้อคิดรอบตัว
...น้ำท่วมขณะนี้ เข้าขั้นวิกฤตและหนักกว่าทุกปีที่ผ่านมา เราจะรับมือกับปัญหาเหล่านี้อย่างมีสติได้อย่างไร ในฐานะที่เราเป็นผู้ประสบเหตุนั้นเราจะมีวิธีเตรียมตัว เตรียมใจอย่างไร ให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้ด้วยดี...