มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - การให้ที่มีผลมาก (๒)
"ดูก่อนคฤหบดี เวลามพราหมณ์ ก็คือเราตถาคตนี่แหละ เราแม้เมื่อให้ทานมากมายเห็นปานนั้น ก็ไม่ได้มีบุคคลผู้สมควรจะมารับทักษิณาทานของเรา แม้เพียงคนเดียว ถึงกระนั้นก็ส่งผลให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลายาวนาน ส่วนท่านได้ให้ทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นับว่าได้โอกาสอันเลิศแล้ว เพราะฉะนั้น จงยินดีในการให้ทานต่อไปเถิด"
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - รักลูกให้ถูกทางนิพพาน
สำหรับวันนี้เรามารับฟังเรื่องราวของพระเถรีรูป หนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า พระวัฑฒมาตาเถรี ซึ่งนอกจากท่านจะเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่บุตรของตนด้วยการยกตนให้พ้นจาก กองกิเลสแล้ว ท่านยังเป็นกัลยาณมิตรให้กับบุตรอีกด้วย เรียกว่าเป็นที่พึ่งทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น และบุตรของท่านก็ได้ชื่อว่า เป็นอนุชาตบุตร เป็นบุตรผู้เสมอกับมารดา
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๑ )
ชายคนหนึ่งชื่อ มหาทุคตะ เพราะความเป็นผู้ยากจนมาก ยากจนกว่าใครทั้งหมดในเมือง บางวันเขาและภรรยาต้องไปขออาหารเหลือเดน ที่ชาวบ้านจะเททิ้งมากินประทังชีวิต แม้มหาทุคตะจะจนทรัพย์แต่ไม่อับจนปัญญา ในวันนั้นบุญเก่าตามมาทัน ส่งผลให้เกิดปัญญา เขาคิดว่า "ที่เราอดอยาก ยากจนอยู่ทุกวันนี้ เพราะความตระหนี่ของเราแท้ๆ ดังนั้น วันนี้ เราจะต้องทำบุญใหญ่ให้ได้"
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - บุญคือฉากหลังของทุกชีวิต
เรื่องราวของพระอุบาลีเถระ เป็นพระเถระผู้มีชื่อเสียงมากในสมัยพุทธกาล ตัวของท่านได้รับแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้ที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านทรงจำพระวินัย มาติดตามกันเลยว่าท่านได้กระทำเหตุไว้อย่างไรจึงได้เป็นผู้ที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านทรงจำพระวินัย
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - มหาบูชานําพาสู่นิพพาน
เมื่อลงมือทำบุญแล้วต้องทำ ให้ดีที่สุด ประณีตที่สุด ให้ละเอียดประณีตทั้งของที่ทำถวายและน้อมถวายด้วยใจที่ละเอียดประณีต ทั้งก่อนถวาย ขณะถวายและหลังจากถวายมหาทานไปแล้ว ให้มีใจร่าเริงเบิกบานไม่คิดเสียดาย ประโยชน์ใหญ่ผลานิสงส์อันยิ่งใหญ่จึงบังเกิดขึ้น
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ผู้อยู่้ใกล้พระรัตนตรัย
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอกราบนิมนต์พระองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เพื่อฉันภัตตาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น ด้วยสัญญาณของหม่อมฉันนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเถิดว่า พระองค์เป็นผู้อันหม่อมฉันนิมนต์ไว้แล้ว"
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - การบูชาที่แท้จริง
พระธรรมารามเถระ แปลว่า ผู้ยินดีในการปฏิบัติธรรม เมื่อ ท่านรู้ว่า อีกไม่นานพระพุทธองค์จะปรินิพพาน ก็มีความคิดว่า ตัวเราเองยังไม่บรรลุคุณวิเศษอะไรเลย อีกไม่นานพระพุทธองค์ก็จะปรินิพพานแล้ว อย่ามัวเสียเวลาเลย เราจะบูชาธรรมพระพุทธองค์ด้วยการปฏิบัติธรรมให้บรรลุอรหัตให้ได้ โลกทั้งโลกของท่านมีแต่การทำหยุดในหยุดอย่างเดียว ลมหายใจของท่านเป็นไปเพื่อการหยุดนิ่งเท่านั้น
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑ ( ปฐมเหตุ )
พระบรมโพธิสัตว์ได้ดำรงตนเป็นแบบอย่างนักสร้างบารมี ตั้งแต่ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ก็แบพระหัตถ์ออก และกล่าวกับพระมารดาว่า"เสด็จแม่ มีสิ่งใดให้ลูกได้ทำทานบ้าง" นี่..พระองค์เกิดมาเพื่อการนี้ เพื่อบ่มบารมีให้แก่รอบ ครั้นพระชนมายุได้เพียง ๘ ชันษา ประทับอยู่บนปราสาทตามลำพัง ทรงคิดที่จะบริจาคทานว่า "เราพึงให้หัวใจ ดวงตา เนื้อ เลือด และร่างกายที่มีอยู่ทั้งหมดนี้ หากใครมาขอเรา ให้เราได้ยิน เราก็จะพึงให้ด้วยความยินดี"