พรหมปุโรหิตาภูมิ
ดูก่อนเกวัฏฏะ อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งบัลลังก์เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้
อสัญญีสัตตาพรหม
ดูก่อนพราหมณ์ สัตว์ละความยึดถืออัตตาว่าเป็นของเราในสัตว์ทั้งหลายที่เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้เดียวโดดเด่น น้อมไปในกรุณา เป็นผู้ปราศจากกลิ่นเหม็น เว้นจากเมถุน ตั้งอยู่ในธรรมนี้ และศึกษาอยู่ในธรรมนี้ จึงจะถึงพรหมโลกได้
มหาพรหม-มหาบุรุษ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด อำนาจของท่านย่อมเป็นไปในพันจักรวาลเท่านั้น ท่านย่อมรู้จักสัตว์ที่เลวและสัตว์ที่ประณีต รู้จักสัตว์ที่มีราคะ และสัตว์ที่ไม่มีราคะ รู้จักจักรวาลนี้และจักรวาลอื่น และรู้จักความมาและความไปของสัตว์ทั้งหลาย
พระพากุลเถระ ตอน สร้างมหากุศลใหญ่ในสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า
ในยุคของพระวิปัสสีพุทธเจ้า พระพากุลเถระได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กรุงพันธุมวดี ต่อมาได้ออกบวชเป็นดาบสฤๅษี และบำ เพ็ญเพียรจนได้ฌาน จนกระทั่งวันหนึ่ง ท่านได้ทราบข่าวการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ไปเข้าเฝ้าเพื่อฟังธรรมแล้วเกิดจิตเลื่อมใส ทำให้ท่านถือเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ อีกทั้งยังหมั่นมาฟังธรรมและคอยดูแลอุปัฏฐากพระศาสดาตามโอกาสสมควร
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 6 ขอลาบวช)
ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไป ชีวิตที่ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมต้านทานไม่ได้ ผู้เห็นภัยในความตายนี้มุ่งต่อสันติ พึงละโลกามิสเสีย
พรหมมีชีวิตเป็นอมตะจริงหรือ..
ท้าวพกพรหม เมื่อยังเป็นมนุษย์บวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรจนได้ฌาน ตายแล้วไปเกิดเป็นพรหมแต่ชีวิตในพรหมโลกนั้นยาวนานมากๆ เมื่อพกพรหมไปอยู่นานเข้าก็เลยคิดว่า พรหมโลกเป็นสิ่งเที่ยงแท้ เป็นอมตะ
พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 76 อธิมุตตกาลกิริยา
การทำ อธิมุตตกาลกิริยา หมายถึง อธิษฐานจิตดับชีพของตน เพื่อลงมาเกิดสร้างบารมีบนโลกมนุษย์ เป็นอานิสงส์พิเศษของพระนิยตโพธิสัตว์
มหาโควินทสูตรตอนที่ ๖ (ขอลาบวช)
พรหมปาริสัชชาภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไปย่อมบังเกิดในพรหมโลก
ปัญจสุทธาวาส
ภิกษุเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อแสดงฤทธิ์ เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ย่อมสามารถลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใด ก็ทำภาชนะชนิดนั้นให้สำเร็จได้