วันประกาศพระพุทธศาสนา
ความอดทนคือความทนทาน เป็นตบะอย่างยิ่ง ผู้รู้ทั้งหลายย่อมกล่าวพระนิพพาน ว่าเป็นเยี่ยม บรรพชิตผู้ฆ่าสัตว์อื่น เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าสมณะเลย นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้
เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูลให้เสด็จกลับ พระเจ้าพรหมทัตจึงตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย เราไม่ใช่พระราชาแล้ว เราชื่อว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า” แล้วทรงเอาพระหัตถ์เบื้องขวาลูบพระเศียร ทันใดนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศบรรพชิตเกิดขึ้นมาแทนที่ ทรงเหาะขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ประทับนั่งบนดอกปทุม
ประกาศผลสอบพระแท้ ครั้งที่ 1
ประกาศผลสอบจาก โครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก สำหรับบรรพชิต ครั้งที่ 1 หรือ World - PEC for Monks ครั้งแรกของโลก
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - บัณฑิตต้องอบรมตน
สมัยหนึ่ง พระราชาตรัสถามว่า "ท่านรัฐบาลผู้เจริญ คนส่วนใหญ่ออกบวชเพราะว่าแก่ชรา อยากมีที่พึ่งทางใจ เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง เพราะเสื่อมจากโภคสมบัติบ้าง จึงอยากมาอาศัยพระศาสนา และเสื่อมจากญาติบ้าง เมื่อเห็นว่าจะไม่มีที่พึ่ง จึงพากันออกบวช แต่ท่านไม่ได้มีความเสื่อมเหล่านั้นเลย แล้วทำไมถึงออกบวชเป็นบรรพชิตเล่า"
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - โทษของการเป็นผู้ว่ายาก
เมื่อตรัสเล่าเรื่องนี้แล้ว พระบรมศาสดาก็ตรัสสรุปว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แร้งนั้นถึงความพินาศฉันใด แม้ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าไม่เชื่อคำสอนของผู้รู้ทั้งหลาย ผู้หวังอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล แม้ผู้นั้นก็จะถึงความพินาศอย่างนั้นเหมือนกัน”
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ชีวิตใหม่ในเพศสมณะ
พระภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนา คือ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทั้งทุกข์ประจำและทุกข์จร ไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นสูง ชั้นกลาง หรือชั้นล่าง ต่างก็มีทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงสละเพศฆราวาส ออกบวชเป็นบรรพชิต ปลงผมและหนวด ละทิ้งเครื่องนุ่งห่มที่มีราคาของคฤหัสถ์
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 6
ด้วยเดชแห่งศีลและพรหมจรรย์ของคนทั้งสอง ได้บันดาลให้ภพแห่งท้าวสักกะเกิดอาการเร่าร้อนขึ้น พระองค์จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมา แล้วรับสั่งให้วิสสุกรรมเทพบุตรไปเนรมิตบรรณศาลาและบรรพชิตบริขารเพื่อบุคคลทั้งสอง
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 2
“บุคคลใดแสวงหาภัตตาหารมาได้โดยชอบธรรม แล้วเลี้ยงดูบิดามารดา เขาผู้นั้นย่อมได้บุญมาก เมื่อละจากโลกแล้วย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์” ท่านเกิดความร่าเริงยินดีว่า “เราเข้าใจผิดมานานว่า คนที่จะสามารถปฏิบัติบำรุงบิดามารดาได้ ต้องเป็นคฤหัสถ์เท่านั้น แต่พระศาสดาได้ตรัสแล้วว่า แม้จะเป็นบรรพชิตก็สามารถทำอุปการะแก่บิดามารดาได้ ...ช่างดีจริง หากเราไม่ได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วไซร้ ป่านนี้เราก็คงต้องเสื่อมจากชีวิตสมณะ คงต้องลาสิกขาไปแล้วเป็นแน่
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 19
นารทดาบสต้องการให้พระโพธิสัตว์สมาทานมั่น จึงถวายข้อคิดว่า “พระองค์ เพียงแต่ทรงเพศบรรพชิตนี้ จะสำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ ไม่ใช่ว่าจะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะยังมีอันตรายอยู่มาก”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 16
ทรงคาดการณ์ว่า นี้จะต้องเป็นเส้นพระเกศาของพระราชสวามี พระองค์ทรงปลงพระเกศาแล้วก็ทรงเปลี่ยนชุดเป็นบรรพชิต สละเครื่องราชาภรณ์วางไว้แล้วก็เสด็จลงจากพระราชวังไป ก็ทรงทราบได้ว่า “บรรพชิตรูปนั้น คงไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้าเสียแล้ว จะต้องเป็นพระราชสวามีสุดที่รักของเราอย่างแน่นอน”