ชัยชนะครั้งที่ 1 (ตอนที่ 1 ชนะพญามาร)
พระจอมมุนีได้ชัยชนะพญามาร ผู้เนรมิตแขนตั้งพัน มีอาวุธครบมือ ขี่คชสารครีเมขล์พร้อมด้วยเสนามาร มาโห่ร้องกึกก้อง ด้วยธรรมวิธีมีทานบารมีเป็นต้น ด้วยเดชแห่งพุทธชัยมงคลนั้น ขอสรรพมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน...
ศาสดาเอกของโลก (3)
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ บำเพ็ญบารมีทุกประการจนเต็มเปี่ยม บรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยอำนาจแห่งการนอบน้อมนั้น ขอความชนะและความเป็นมงคล จงบังเกิดมีแก่ข้าพระพุทธเจ้า...
สมเด็จพระสังฆราชประทานพระโอวาทวันวิสาขบูชา 2552
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาท วันวิสาขบูชา ประจำปี 2552
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ประพฤติพรหมจรรย์
เพียงตัดสินใจออกบวชเพื่อประพฤติพรหมจรรย์แค่ไม่กี่ปี ยังเป็นเหตุให้ท่านได้ทิพยสมบัติมากมาย และได้ครอบครองยาวนานถึงเพียงนี้ การประพฤติพรหมจรรย์ คือ การประพฤติอันประเสริฐ ไม่ใช่ต้องออกบวชเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พรหมจรรย์มีอยู่หลายระดับด้วยกัน แล้วแต่ใครจะสะดวกประพฤติพรหมจรรย์ในระดับไหน ตั้งแต่พรหมจรรย์ขั้นต้นสำหรับผู้ครองเรือน ก็ให้พอใจเฉพาะคู่ครองของตนเท่านั้น ไม่ให้นอกใจภรรยาหรือสามี มีศีล๕ เป็นปกติ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ปุจฉา-วิสัชนา
ดังเช่นในสมัยพุทธกาล เหล่าทวยเทพในสวรรค์จะลงจากเทวโลก เพื่อมาฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านถือว่าการมาฟังธรรมเป็นกรณียกิจที่สำคัญ เทวดาแต่ละองค์ที่ลงจากเทวโลกในยามราตรี ต่างไม่มาเปล่า ไม่ใช่เตรียมมาฟังธรรมอย่างเดียว ท่านจะเตรียมคำถามที่ดีๆไว้อย่างน้อย ท่านละ ๑คำถาม เพื่อนำมาทูลถามพระพุทธองค์
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - ผู้มีขันติธรรมเป็นเลิศ
ดูก่อน...ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทนมี ๕ประการ คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร คือ ทำให้ไม่มีเวรมีภัยกับใคร ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงทำกาละ เมื่อตายไปย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อย่างเดียว
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - อภิชาตบุตรยอดกตัญญู
อานุภาพของการบำรุงบิดามารดาไม่ใช่ เรื่องธรรมดา ผู้ที่เลี้ยงดูบิดามารดา แม้ยักษ์ผู้มีใจเหี้ยมโหดก็ยังอ่อนโยนได้ แล้วเกิดความเลื่อมใส จนเปลี่ยนจากยักษ์ที่เหี้ยมโหดกลายมาเป็นยักษ์ใจดี มีศีลมีธรรม พระพุทธองค์ถึงได้ตรัสว่า เพราะการปรนนิบัติในบิดามารดา
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - แม้เป็นเทวดาก็อย่าประมาท
วลาในโลกนี้แสนสั้น เดี๋ยววันเดี๋ยวคืน ยังไม่ทันได้สั่งสมบุญให้เต็มอิ่ม ความชราก็เข้ามาเยือนแล้ว บางคนเกิดมายังไม่ทันได้สั่งสมบุญ กรรมในอดีตก็มาตัดรอนเสียก่อน ทำให้มีเหตุที่ต้องละสังขารไปก่อนถึงเวลาอันควร ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต ให้เห็นคุณค่าของเวลาแต่ละนาทีที่ผ่านไป โดยมีสติเตือนตนเสมอว่า เราจะไม่ประมาท โดยเฉพาะไม่ประมาทในการประพฤติธรรม
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - หนทางสู่สวรรค์นิพพาน
เราไม่ควรประมาทในชีวิต ต้องมีสติเตือนตนเสมอว่า เราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ ความตายไม่มีเครื่องหมายนำหน้า พึงเร่งขวนขวายสร้างความดี ละบาปอกุศล และทำจิตใจให้ผ่องใส เหมือนพระอินทร์ผู้เป็นจอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อเห็นว่า อีกไม่นานจะต้องจุติจากความเป็นเทพ พระองค์ก็ไม่ประมาท หาโอกาสสั่งสมบุญให้กับตนเองทันที
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 62
วาทะของมโหสถในครั้งนี้ เป็นดุจไม้หน้าสามที่ตีแสกลงกลางกระหม่อมของอาจารย์เสนกะเสียจนหน้าคว่ำไม่ เป็นท่า เพราะไม่ว่าใครหากได้ตรองตามสักหน่อย ก็ย่อมจะเห็นชัดว่า คำพูดของอาจารย์เสนกะผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เพราะในขณะที่กำลังยกตนว่าเป็นบัณฑิตผู้มีปัญญาที่ถึงอย่างไรก็ต้องยอม สวามิภักดิ์ต่อผู้มีทรัพย์อยู่ดี นั่นก็เท่ากับแฝงนัยยะว่า พระราชาเป็นเพียงผู้มีทรัพย์แต่พระองค์หามีปัญญาไม่
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - วันสุดท้ายของชีวิต
สรรพสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ต่างอยู่บนพื้นฐานของความไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมทุกวินาที และสูญสลายในที่สุด ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เราควรแสวงหาสิ่งที่เป็นความสุขที่แท้จริง นั่นคือ “พระธรรมกาย”
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ทาน คือ ชีวิต
อย่างไรก็ตาม ตายเร็วตายช้าก็ไม่ได้เป็นเครื่องวัดความมีโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องดูตัดสินขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าได้สั่งสมบุญกุศลใดบ้าง และมองไหลไปถึงชีวิตหลังความตายได้ว่า ตายแล้วไปไหน มีสุคติหรือทุคติเป็นที่ไป เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว ต้องไม่ประมาทในวัยและชีวิต ด้วยการหมั่นหาโอกาสสั่งสมบุญให้มากที่สุด ก่อนที่ความตายจะมาถึง
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ผลแห่งการถวายดอกปทุม
ครั้งหนึ่ง พระกาฬุทายีเถระได้สร้างบุญพิเศษที่ทำให้เกิดมหาปีติไม่เสื่อมคลาย คือ วันหนึ่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกไปโปรดสัตวโลก ครั้งนั้น ท่านได้เอาดอกปทุม ดอกอุบล ดอกมะลิซ้อนที่กำลังบานสวยงาม และข้าวสุกอย่างดีมาถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงรับด้วยหวังจะอนุเคราะห์ท่าน
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 17
ท้าวสักกเทวราชไม่ตรัสตอบสิ่งใด เมื่อความจริงได้ปรากฏ และบัดนี้มหาชนก็ได้ทราบแล้วว่าพระองค์เป็นใคร จึงทรงกลับร่างเป็นเทพราชา ผู้สง่างามด้วยทิพย์อาภรณ์มีรัศมีเฉิดฉาย ทรงเหาะทะยานขึ้นสู่เบื้องบนแล้วไปปรากฏพระองค์อยู่กลางนภากาศ ตรัสชื่นชมปัญญาบารมีของมโหสถบัณฑิตด้วยพระสุรเสียงก้องกังวาน
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 16
มโหสถพิจารณาอยู่ว่า “...ชายเข็ญใจผู้นี้เป็นใครกันแน่ ตาก็ไม่กระพริบ แววตาช่างดูมีอำนาจ ซ้ำยังองอาจ มิได้ครั่นคร้ามต่อสิ่งใด ทั้งที่มายืนอยู่ท่ามกลางมหาชนมากมายถึงเพียงนี้”ทันใดนั้นความคิดหนึ่งก็แวบขึ้นมา “..หรือว่าชายผู้นี้ จะเป็นท้าวสักกเทวราช จอมเทพแห่งดาวดึงส์พิภพจำแลงมา...” แล้วมโหสถจะตัดสินคดีความอย่างไรนั้น
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 17
มหาชนได้ฟังพระราชาตรัสเล่าเรื่องราวของสัตว์นรก และบาปกรรมที่ทำให้ต้องไปตกนรกเช่นนั้น ก็เกิดความหวาดกลัวบาปกรรม ต่างรับปากกับพระเจ้าเนมิราชว่า จะไม่ทำบาปอกุศลอย่างนั้นอีกต่อไป
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 16
เมื่่อมาตลีเทพสารถีได้นำพระเจ้าเนมิราชมาถึงเทวสภา เหล่าเทวดาก็อัญเชิญให้เสด็จขึ้นประทับนั่งบนทิพอาสน์ใกล้กับท้าวสักกเทวราช และท้าวสักกะจอมเทพทรงเกิดความเลื่อมใสในพระเจ้า เนมิราชเป็นอย่างยิ่ง ได้ตรัสเชื้อเชิญให้ทรงบริโภคกามอันเป็นทิพย์ในเทวโลกกับพระองค์ โดยจะทรงแบ่งสมบัติทิพย์ให้ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 14
มาตลีเทพสารถีนำทิพยานแล่นผ่านประตูเทพนคร นำพระเจ้าเนมิราชชมความงามไปเรื่อยๆ พร้อมกับพรรณนาความงดงามตระการตาของดาวดึงส์แดนสวรรค์ไปไม่ขาดสาย
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๔ )
จะเล่าเรียนอะไร ก็ทำไปเถิด เพราะเรายังเป็นมนุษย์ ต้องใช้ความรู้ทำมาหากินเลี้ยงชีพ แต่อย่าลืมศึกษาธรรมะไปด้วย เราต้องศึกษาความจริงของชีวิต ที่จะเป็นเข็มทิศนำพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง จะทำมาหากินก็ทุ่มเททำกันไป แต่อย่าลืมทำบุญติดตัวควบคู่ไปด้วย
วันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพาน
หนฺท ทานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ นี่เป็นพระดำรัสสุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงรวบรวมพระโอวาททั้งปวงที่ได้ประทานมาตลอด ๔๕ พรรษานั้นลงในความไม่ประมาท